ศูนย์กระดูกสันหลัง

2 กลุ่มกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
สาเหตุหลักที่ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ มักเกิดจากความเสื่อมของแนวกระดูกสันหลัง ทั้งบริเวณข้อต่อและหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้แนวกระดูกสันหลังไม่มั่นคงและเคลื่อนจนไปกดทับเส้นประสาท

ศูนย์กระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกเคลื่อน อายุน้อยก็เป็นได้
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Lumbar Disc Herniation) เป็นโรคที่พบบ่อยในคนที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เพราะเมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นหนึ่งในข้อต่อของกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตามอายุ โดยส่วนมากจะเริ่มที่อายุประมาณ 25-30 ปี

ศูนย์กระดูกสันหลัง

นั่งผิดท่าบ่อย ๆ ก็เสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังคดได้
กระดูกสันหลังคดเป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนมากเป็นตั้งแต่วัยเด็กและเห็นชัดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเจริญเติบโต ซึ่งนอกจากกรรมพันธุ์แล้ว พฤติกรรมการนั่งหรือนอนที่ผิดท่าบ่อย ๆ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความคดเพิ่มมากขึ้นได้

ศูนย์กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคดรักษาไว ไม่ต้องผ่าตัด
พ่อแม่ต้องสังเกตโครงสร้างร่างกายลูกตั้งแต่วัยเด็ก หากเดินตัวเอียง ระดับหน้าอก สะโพกและหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังคด แต่ถ้าหาหมอเร็วสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด   กระดูกสันหลังคดเป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนใหญ่มีภาวะกระดูกสันหลังคดตั้งแต่วัยเด็กและเห็นได้ชัดขึ้นหรือคดมากขึ้นเมื่ออยู่ในวัยเจริญเติบโต เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง โดยการคดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือการคดแบบตัวซี (C) และการคดแบบตัวเอส (S) ซึ่งการคดแบบตัวซีเป็นการคดหนึ่งตำแหน่ง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเรื้อรังและอาจทำให้ไหล่กับสะโพกไม่เท่ากัน หากปล่อยไว้นาน ๆ หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนกระดูกคดเป็นลักษณะตัวเอสคือเป็นการคด 2 ตำแหน่ง เนื่องจากเมื่อความคดของกระดูกสันหลังในจุดหนึ่งมีมากจนร่างกายไม่สามารถมีสมดุลที่ดีได้ ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลให้เกิดขึ้นใหม่โดยการงอกระดูกสันหลังส่วนที่เหลือไปอีกด้าน จึงทำให้กระดูกสันหลังคดเป็นลักษณะคล้ายตัวเอส ซึ่งอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย นายแพทย์ภัทร โฆสานันท์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า นอกจากลักษณะของการคดแล้ว ยังมีการวัดมุมหรือความคดของแนวกระดูกสันหลังเป็นองศา หรือที่เรียกว่า Cobb angle โดยสามารถเห็นได้จากการเอกซเรย์ โดยโรคกระดูกสันหลังคดส่วนมากสังเกตได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น เช่น ระดับของหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ,กระดูกสะบักยุบนูนต่างกัน ,ระดับหน้าอกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ,ในเด็กผู้หญิงหน้าอกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ส่วนในเด็กผู้ชายอาจสังเกตได้จากระดับหัวนมไม่เท่ากัน ,สะโพกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน […]

ศูนย์กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง “คด” เกิดขึ้นจากอะไร
โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีการบิดเอียงจากแนวปกติเกินกว่า 10 องศา ซึ่งการคดนั้นสามารถเกิดได้ในกระดูกสันหลังทุกระดับ และเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด

ศูนย์กระดูกสันหลัง

หยุดยาวต้องพกอะไรก่อนออกจากบ้าน แบบฉบับ NEW NORMAL
สงกรานต์ปีนี้ยังคงต้องงดเล่นน้ำและเว้นระยะห่างตามแบบฉบับ NEW NORMAL เพราะ COVID-19 กลับมาระบาดอีกระลอก แต่หลายคนต้องเดินทางกลับต่างจังหวัดด้วยขนส่งสาธารณะ

ศูนย์กระดูกสันหลัง

กินแคลเซียมไม่ได้ป้องกัน ‘กระดูกเสื่อม’
“หลายคนอาจจะเข้าใจผิด ทำไมรับประทานแคลเซียมแล้วกระดูกยังเสื่อม” เพราะภาวะกระดูกเสื่อม กับ ภาวะกระดูกพรุนนั้นแตกต่างกัน กระดูกสันหลังเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เอ็นยึดข้อต่อกระดูก

ศูนย์กระดูกสันหลัง

อาการและพฤติกรรมเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมประเภทหนึ่ง โดยเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกถูกทำลายเสียหายจนไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นผลจากการใช้งานกระดูกสันหลังอย่างหนักเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง สัญญาณของโรคนี้คืออาการชา อ่อนแรง ปวดหลังลามลงไปที่ขาหรือเท้า อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ หากเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นบริเวณข้อด้านล่างของกระดูกเอว ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงและพบได้บ่อยที่สุด อาจเสี่ยงอาการรุนแรงและจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามแนวกระดูกสันหลัง ตั้งแต่คอไปจนถึงหลังส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังบริเวณกลางหลังหรือเอวด้านล่าง อาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยอาการจะเด่นชัดขึ้นเมื่อไอ จาม หรือนั่งงอตัว ปวดขา กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขาจะทำให้มีอาการปวดเมื่อเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายในบางท่า ซึ่งเกิดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ขา ลงไปถึงเท้า นอกจากนี้อาจมีอาการชา ปวดร้าวลงขา และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น หลายพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้โดยไม่รู้ตัว ดังนี้ แบกของหนัก การแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะการแบกของที่ผิดท่าอาจทำให้ใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บและส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง ก้มเงยบ่อย หรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน การทำกิจกรรมก้ม ๆ เงย ๆ เป็นประจำ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ขัดห้องน้ำ เล่นสมาร์ทโฟน รวมถึงการนั่งท่าเดิมโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนั่งผิดท่า เช่น งอหลัง ก้มคอ […]

ศูนย์กระดูกสันหลัง

ขยับคอแล้วมีเสียง เสี่ยงอันตรายไหม
หากบิดหรือขยับคอไปมาแล้วมีเสียงดัง “กร๊อบ” ในกระดูกคอ อย่าเพิ่งตกใจไปเพราะเสียงเช่นนี้เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติเมื่อเราขยับร่างกายหรือข้อต่อกระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนไหว ทำให้ฟองอากาศที่อยู่ในข้อต่อแนวกระดูกสันหลังแตกจึงเกิดเสียงกร๊อบขึ้น
5494