บทความสุขภาพ

กินแคลเซียมไม่ได้ป้องกัน ‘กระดูกเสื่อม’

Share:

“หลายคนอาจจะเข้าใจผิด ทำไมรับประทานแคลเซียมแล้วกระดูกยังเสื่อม”

เพราะภาวะกระดูกเสื่อม กับ ภาวะกระดูกพรุนนั้นแตกต่างกัน

กระดูกสันหลังเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เอ็นยึดข้อต่อกระดูก มีสาเหตุมาจากการใช้งานกระดูกสันหลังมากเกินไป ใช้งานผิดท่าต่อเนื่องเป็นเวลานาน อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลัง ติดเชื้อในกระดูกสันหลัง ซึ่งภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตามข้อกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อต่อ

ประโยนช์ของแคลเซียม

แคลเซียมมีความจำเป็นต่อคนทุกวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กหากได้รับแคลเซียมเพียงพอจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกและฟัน เมื่อถึงช่วงอายุ 30 – 35 ปี หากรับประทานแคลเซียมเป็นประจำจะช่วยลดการเสื่อมสลายของกระดูกได้ ช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุน ลดโอกาสสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก ลดโอกาสการเกิดกระดูกหักช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทส่วนที่ควบคุมการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นปกติดังนั้น หากได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอตั้งแต่ก่อนอายุ 30 – 35 ปี จะช่วยให้กระดูกมีความหนาแน่น และเมื่ออายุมากขึ้นหรือถึงวัยที่กระดูกจะต้องเสื่อมสลาย ก็จะช่วยให้กระดูกไม่เปราะบางหรือสูญเสียมวลกระดูกเร็วเกินไป

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดหลังหรือปวดข้อกระดูกสันหลัง ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500 / 5550

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (3 )
  • Your Rating