ศูนย์กระดูกและข้อ

PRP ทางเลือกลดปวด ลดอักเสบ ในโรคกระดูกและข้อ
อาการปวดบวมจากโรคกระดูกและข้อเป็นความทรมานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคข้อเสื่อม ข้อไหล่ติด ปวดไหล่เรื้อรัง รองช้ำ โรคข้อเท้าอื่น ๆ กระดูกสะโพกร้าว ข้อเข่าเสื่อม และโรคข้อต่อส่วนอื่นของร่างกาย

ศูนย์กระดูกและข้อ

ปวดฝ่าเท้าเกิดจากอะไร
ปวดฝ่าเท้าด้านหน้า มักเกิดในคนที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ เนื่องจากน้ำหนักตัวจะถ่ายเทไปที่ฝ่าเท้าด้านหน้า บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่นิ้วเท้าและข้อเท้า อีกทั้งยังทำให้ใต้ฝ่าเท้าหรือใต้นิ้วเท้าเกิดหนังด้านด้วย

ศูนย์กระดูกและข้อ

ปวดไหล่ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ต้องรีบรักษาก่อนสายไป
ข้อไหล่เป็นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยครั้งในแต่ละวันจากการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ซึ่งผลจากการใช้งานมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยและหายไปเองได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่ามีอาการปวดไหล่เรื้อรังเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด สาเหตุของอาการปวดไหล่ ● พฤติกรรมการนั่งทำงาน คนวัยทำงานเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการปวดไหล่มากที่สุด ซึ่งอาจเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานบนเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่มีอาการเกร็งจนทำให้รู้สึกปวดเมื่อย รวมไปถึงการนั่งพิมพ์งานในท่าเดิมซ้ำ ๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าบริเวณหัวไหล่และลามไปจนถึงแขนได้ด้วยเช่นกัน ในบางรายอาจรู้สึกว่าอาการปวดนั้นทวีความรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน ทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อล้มตัวลงนอน ● ออกกำลังกายหักโหม สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ในบางครั้งการออกกำลังกายหักโหมหรือไม่ยืดกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่เกิดการบาดเจ็บ และอาจกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา ● อุบัติเหตุในชีวิตประจำวันหรือการเล่นกีฬา บางครั้งอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างการหกล้มหรือการเดินชนสิ่งกีดขวางก็อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ รวมไปถึงผู้ที่เล่นกีฬาอาจมองว่าการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาการปวดไหล่เป็นเรื่องปกติ และอาการบาดเจ็บเหล่านั้นจะหายได้เองจึงหลีกเลี่ยงการพบแพทย์ จนเกิดอาการปวดไหล่เรื้อรังที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในที่สุด ปวดไหล่แบบนี้ ไม่ดีแน่นอน อาการปวดไหล่ไม่ใช่แค่การอักเสบของกล้ามเนื้อและสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการนวดคลายกล้ามเนื้อหรือใช้ยาทาภายนอก แต่ถ้ามีอาการปวดเรื้อรังนานหลายสัปดาห์และเริ่มมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณว่าไม่ใช่การปวดไหล่ธรรมดาที่ต้องรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโดยทันที การรักษาอาการปวดไหล่ ● รักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอาการไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งสามารถทำเองได้ที่บ้านหรือเข้ารับการทำกายภาพบำบัดด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งพักการใช้งานแขนเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ● รักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ที่จะช่วยให้แผลมีขนาดเล็กเพียง […]

ศูนย์กระดูกและข้อ

พฤติกรรมที่ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการปวดกระดูกหลังส้นเท้าที่สร้างความทรมานให้ใครหลายต่อหลายคน ส่วนมากเกิดในกลุ่มคนอายุเยอะจากความเสื่อมตามวัย พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเกาต์ เรื้อนกวาง

ศูนย์กระดูกและข้อ

ปวดส้นเท้าบ่อยๆ สัญญาณเตือนรองช้ำอักเสบ
อาการปวดส้นเท้าและฝ่าเท้ามากหลังตื่นนอน เป็นอาการของโรครองช้ำอักเสบ หรือที่เรียกว่าเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ มักเกิดจากเวลาที่เดินลงน้ำหนัก หรือกระแทกเท้ามากเกินไป

ศูนย์กระดูกและข้อ

5 วิธีเช็กเท้าแบนโดยแพทย์เฉพาะทาง
การเช็กว่าตัวเองเท้าแบนไหม เบื้องต้นผู้ป่วยสามารถเช็กได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง โดยการยืนลงน้ำหนักแล้วเทียบความสูงอุ้งเท้าด้านใน ระหว่างตอนยืนกับตอนนั่ง หากไม่ปรากฏส่วนโค้งเว้าขณะยืน แสดงว่ามีแนวโน้มเกิดภาวะเท้าแบน

ศูนย์กระดูกและข้อ

3 สาเหตุเดินแล้วปวดเท้า
เวลาเดินแล้วรู้สึกปวดข้อเท้า หรือ ปวดเท้า สงสัยกันไหม ว่าทำไมถึงปวด และมันเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายแรงที่เกี่ยวกับเท้าของเราหรือเปล่า ?? เวลาเดินแล้วปวดข้อเท้าหรือปวดเท้า อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้

ศูนย์กระดูกและข้อ

ทำกิจกรรมเหล่านี้แล้วมีอาการเจ็บไหล่ ระวังเป็นข้อไหล่ติด
อาการของโรคข้อไหล่ติดจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาในการดำเนินโรค โดยผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการของโรคข้อไหล่ติดได้จากการใช้งานแขนในลักษณะดังต่อไปนี้

ศูนย์กระดูกและข้อ

อาการแบบไหน…ข้อเท้าหลวม
อาการแบบไหน…ข้อเท้าหลวม ปวดข้อเท้าเป็นประจำ ข้อเท้าบวมง่าย เสียการทรงตัวง่ายเมื่อต้องเดินแบบเร่งรีบหรือเดินบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ ข้อเท้าพลิกบ่อยเมื่อต้องวิ่ง เล่นกีฬาที่ต้องเปลี่ยนทิศทางแบบกะทันหัน หรือแม้แต่การเดินบนพื้นต่างระดับ หากข้อเท้าพลิกบ่อยหรือข้อเท้าหลวม ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงกว่าเดิม โดยแพทย์จะให้เริ่มทำกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นรอบข้อเท้าและฝึกการทรงตัวของข้อเท้า พร้อมกับใช้อุปกรณ์เสริมพยุงข้อเท้า แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นใน 3 – 6 เดือน แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็น เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานข้อเท้าได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298
27120