ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

รู้จักมะเร็งตับอ่อน ก่อนที่จะสายเกินไป
“มะเร็งตับอ่อน” เป็นมะเร็งชนิดที่เราพบได้เป็นลำดับที่ 10 ของมะเร็งที่คนไทยเป็นในเพศชาย (ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ปี 2563) แต่อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งตับอ่อนสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากในช่วงเเรกผู้ป่วยไม่มีอาการที่จำเพาะต่อโรคจึงวินิจฉัยได้ยาก กว่าจะรู้ตัวอีกทีเซลล์มะเร็งก็ลุกลามไปมากแล้ว ด้วยเหตุนี้เราจึงควรสังเกตอาการและเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสการเสียชีวิตให้น้อยลง รู้จักตับอ่อนและมะเร็งตับอ่อน “ตับอ่อน” เป็นอวัยวะในระบบย่อยอาหาร ที่ตำเเหน่งอยู่ลึกเข้าไปบริเวณหลังกระเพาะอาหาร เเละอยู่ด้านหน้ากระดูกสันหลังกลางลำตัว บริเวณส่วนหัวตับอ่อนถูกล้อมด้วยส่วนโค้งของลำไส้เล็กตอนต้น อยู่กลางช่องท้องบริเวณลิ้นปี่เเละทอดยาวไปทางซ้ายโดยส่วนปลายหางของตับอ่อนไปติดชิดกับม้าม ตับอ่อนมีขนาดความยาวประมาณ 12-15 ซม. ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยสำหรับการย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เพื่อใช้ในการดูดซึมในลำไส้เล็ก อีกทั้งตับอ่อนยังสร้างอินซูลินเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาล ดังนั้น หากตับอ่อนทำงานผิดปกติก็จะทำให้การย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันในลำไส้เล็ก และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีความผิดปกติตามไปด้วย แม้ว่ามะเร็งตับอ่อนจะพบได้ไม่บ่อยนัก การวินิจฉัยค่อนข้างยาก ประกอบกับเมื่อเป็นมะเร็งในระยะแรกมักไม่แสดงอาการบ่งชี้ที่ชัดเจน จึงมักตรวจพบเมื่อมะเร็งตับอ่อนอยู่ในระยะลุกลาม และไม่สามารถผ่าตัดให้หายขาดได้ ที่สำคัญยังไม่มีการค้นพบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ แต่มักจะพบในผู้ที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงดังต่อไปนี้ อาการบ่งชี้ของมะเร็งตับอ่อน แม้ว่าอาการของมะเร็งตับอ่อนในระยะแรกจะไม่ได้ชัดเจน แต่มักจะเจอความผิดปกติเมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยพบว่าผู้ป่วยมักมีความผิดปกติดังต่อไปนี้ การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนได้แม่นยำที่สุดคือการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การส่องกล้องอัลตราซาวนด์ Endoscopic ultrasound(EUS) ในบางครั้งอาจจะใช้การตรวจเลือด […]

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ทำไมต้องใส่บอลลูนกับ VEJTHANI
ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารด้วยการส่องกล้อง ปลอดภัย ไม่ต้องผ่าตัด ในขณะที่ใส่บอลลูนจะอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดการใส่

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ลด “ผิด” ชีวิตพัง
รูปร่าง และสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ หลายคนจึงคิดหาวิธีลดหุ่นเพื่อให้ได้รูปร่างที่สมส่วน แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้วิธีลดแบบผิด ๆ

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

5 วิธีลดน้ำหนักที่แพทย์แนะนำ
การลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ถ้าตั้งใจ ซึ่งปัจจุบันมีวิธีลดน้ำหนักที่หลากหลาย ทั้งวิธีแบบธรรมชาติหรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยแบ่งเป็น 5 วิธี

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

กินข้าวเหนียวมะม่วงยังไงไม่ให้ลงพุง
ถึงแม้ว่าข้าวเหนียวมะม่วงจะเป็นอาหารแสนอร่อยของใครหลายคน แต่เป็นอาหารที่ให้พลังงานที่สูงมาก หากกินมาก ๆ จะทำให้รับพลังงานเกินจำเป็นกลายเป็นไขมันไปสะสมที่ส่วนต่าง ๆ แทนได้ มาดูวิธีกินข้าวเหนียวมะม่วงอย่างไรไม่ให้อ้วน มี 4 ข้อดังนี้

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

พุงมาจากไหน
เชื่อว่าหลายคนคงไม่อยากอ้วน นอกจากจะส่งผลต่อบุคลิกภาพนอกแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน มีด้วยกันหลายสาเหตุ มีดังนี้

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

4 STEP ใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร
โรคอ้วน ถือว่าปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และอีกมากมาย ส่งผลให้ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตว่า 2.8 ล้านคน ซึ่งคนอ้วนจำเป็นจะต้องลดน้ำหนักลงเพื่อไม่ให้เกิดโรคภัยกับตัวเอง

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจง่าย วินิจฉัยแม่นยำ
ความผิดปกติภายในทางเดินอาหารและลำไส้ มักจะเริ่มแสดงอาการต่อเมื่อมีความรุนแรงมาก เพราะฉะนั้นการส่องกล้องทางเดินอาหารและลำไส้ จะช่วยให้เราตรวจเจอโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะโรคร้ายแรง ก็จะช่วยให้การรักษาทำได้ไม่ซับซ้อน

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียหลังรับประทานอาหารทะเล
หลายคนมีอาการท้องเสียหลังรับประทานอาหารทะเล ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนของแบคทีเรียบางชนิด แต่นอกจากแบคทีเรียแล้วยังสามารถเกิดจากโนโรไวรัส (Norovirus) เชื้อไวรัสที่มักเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหาร
1880