ศูนย์หัวใจ

รู้ทันหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา 24 hr
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG) ตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา 24 ชั่วโมง (24 hour Holter Monitoring)

ศูนย์หัวใจ

มิติใหม่ในการผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมลิ้นหัวใจ แผลเล็ก ไม่ตัดกระดูก พักฟื้นสั้น กลับไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น
นายแพทย์สยาม ค้าเจริญ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลเวชธานี เล่าถึงอาการของโรคลิ้นหัวใจว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ โรคลิ้นหัวใจตีบและโรคลิ้นหัวใจรั่ว โดยลิ้นหัวใจตีบเกิดจากการที่ลิ้นหนาขึ้น หรือมีหินปูนมาเกาะจนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง

ศูนย์หัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะรักษาได้ อย่าปล่อยไว้เพราะอาจอันตรายถึงชีวิต
‘เหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ หน้ามืด หมดสติบ่อย’ อาการที่ต้องรีบพบแพทย์ด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ศูนย์หัวใจ

รู้ทันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอะไรบ้าง
โดยปกติแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 50-100 ครั้งต่อนาที หากมีอัตราการเต้นช้าหรือเร็วกว่านี้ก็จะเข้าข่ายภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ศูนย์หัวใจ

เหนื่อยง่ายหนึ่งในอาการของโรคลิ้นหัวใจ
ลิ้นหัวใจเป็นเนื้อเยื่อที่กั้นระหว่างห้องหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปในทิศทางที่ถูกต้อง แต่ถ้าลิ้นหัวใจมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นลิ้นหัวใจตีบ ตัน รั่ว เสื่อมสภาพ มีไขมันหรือหินปูนเกาะ จนลิ้นหัวใจเปิดหรือปิดไม่สนิท ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี

ศูนย์หัวใจ

5 สาเหตุลิ้นหัวใจผิดปกติ
โรคลิ้นหัวใจผิดปกติจากความเสื่อม (Degenerative Valve Disease) มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease) เกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ ทําให้เกิดไข้รูมาติก

ศูนย์หัวใจ

ลิ้นหัวใจรั่วซ่อมได้ ไม่ต้องทานยาตลอดชีวิต
ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ ฉีกขาดหรือรั่ว สามารถผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งยังคงรักษาโครงสร้างเดิมของลิ้นหัวใจที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ

ศูนย์หัวใจ

ดูแลสุขภาพอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ
รู้หรือไม่ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก จากสถิติขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า ในปี 2563 มีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 17.9 ล้านคน ซึ่งถือเป็น 0.23% ของจำนวนประชากรทั่วโลกในปัจจุบัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคหัวใจซึ่งหลายคนไม่ได้ใส่ใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพ อีกทั้งสาเหตุหลัก ๆ ของผู้ป่วยโรคหัวใจในไทยนั้นมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารรสจัด มีคอเลสเตอรอลสูง รวมทั้งความเครียด นอกจากนี้ โรคประจำตัวบางอย่างก็ส่งผลต่อโรคหัวใจด้วยเช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจ เป็นอวัยวะภายที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีออกซิเจนเป็นตัวกลางสำคัญเพื่อให้หัวใจสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่ทำให้หัวใจไม่แข็งแรง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็จะมีการเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆ รวมถึงหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจตามมา อาการแบบไหนที่เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หลายคนอาจมองข้ามสัญญาณเตือนจากโรคหัวใจเพราะบางครั้งอาจคิดว่าเป็นเพียงแค่อาการทั่วไป แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นอาการจากโรคหัวใจที่แสดงตัวมากขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้● เหนื่อยง่ายกว่าปกติ: หลายครั้งที่เหนื่อยง่าย หอบหายใจลำบาก หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพราะออกแรงมากเกินไปหรืออยู่ระหว่างการออกกำลังกายโดยจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไปเองแต่บางครั้งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับด้วย● เจ็บแน่นหน้าอก: ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอกด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน เวลานอนราบอาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือมีอาการอึดอัดบริเวณหน้าอก● เป็นลมหมดสติโดยไม่มีสาเหตุ● ขาหรือเท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ: นอกจากอาการขาหรือเท้าบวมแล้ว ยังรวมไปถึงปลายมือ […]

ศูนย์หัวใจ

นวัตกรรมใหม่ เปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน (TAVI) โดยไม่ต้องผ่าตัด
เปลี่ยนลิ้นหัวใจไม่ต้องผ่าตัด ด้วยนวัตกรรม TAVI ลดความเจ็บปวดและไร้แผลผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไวและกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติเร็วขึ้น
1859