ศูนย์หัวใจ

ดูแลสุขภาพอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ
รู้หรือไม่ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก จากสถิติขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า ในปี 2563 มีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 17.9 ล้านคน ซึ่งถือเป็น 0.23% ของจำนวนประชากรทั่วโลกในปัจจุบัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคหัวใจซึ่งหลายคนไม่ได้ใส่ใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพ อีกทั้งสาเหตุหลัก ๆ ของผู้ป่วยโรคหัวใจในไทยนั้นมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารรสจัด มีคอเลสเตอรอลสูง รวมทั้งความเครียด นอกจากนี้ โรคประจำตัวบางอย่างก็ส่งผลต่อโรคหัวใจด้วยเช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจ เป็นอวัยวะภายที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีออกซิเจนเป็นตัวกลางสำคัญเพื่อให้หัวใจสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่ทำให้หัวใจไม่แข็งแรง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็จะมีการเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆ รวมถึงหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจตามมา อาการแบบไหนที่เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หลายคนอาจมองข้ามสัญญาณเตือนจากโรคหัวใจเพราะบางครั้งอาจคิดว่าเป็นเพียงแค่อาการทั่วไป แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นอาการจากโรคหัวใจที่แสดงตัวมากขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้● เหนื่อยง่ายกว่าปกติ: หลายครั้งที่เหนื่อยง่าย หอบหายใจลำบาก หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพราะออกแรงมากเกินไปหรืออยู่ระหว่างการออกกำลังกายโดยจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไปเองแต่บางครั้งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับด้วย● เจ็บแน่นหน้าอก: ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอกด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน เวลานอนราบอาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือมีอาการอึดอัดบริเวณหน้าอก● เป็นลมหมดสติโดยไม่มีสาเหตุ● ขาหรือเท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ: นอกจากอาการขาหรือเท้าบวมแล้ว ยังรวมไปถึงปลายมือ […]

ศูนย์หัวใจ

นวัตกรรมใหม่ เปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน (TAVI) โดยไม่ต้องผ่าตัด
เปลี่ยนลิ้นหัวใจไม่ต้องผ่าตัด ด้วยนวัตกรรม TAVI ลดความเจ็บปวดและไร้แผลผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไวและกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติเร็วขึ้น

ศูนย์หัวใจ

5 อาการใจสั่น ถ้าเป็นแล้วอาจผิดปกติ
อาการใจสั่น ใจหวิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อตื่นเต้น เครียด หรือ กังวล หรือดื่มเครื่องดื่ม การทานยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการได้เช่นกัน แต่ก็ไม่ควรวางใจอยู่ดี เพราะถ้าหากเกิดจากปัญหาสุขภาพก็อาจทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ศูนย์หัวใจ

ผ่าตัดลิ้นหัวใจไม่น่ากลัวอีกต่อไป ด้วยเทคนิคส่องกล้องแผลเล็ก
มิติใหม่แห่งการผ่าตัดซ่อมและเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยเทคนิคส่องกล้อง แผลเล็กลงเหลือเพียง 4-5 เซนติเมตร ฟื้นตัวเร็ว ลดการนอนโรงพยาบาล และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติใน 1 เดือน

ศูนย์หัวใจ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาได้ด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะคืออะไร โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป จนทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต  ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท Supraventricular Tachycardia เป็นโรคหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ  Atrial Fibrillation หัวใจห้องบนเต้นไม่เป็นจังหวะ เต้นพลิ้วและเร็วผิดปกติ โดยมากพบในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดหลอดเลือดสมองได้  Ventricular Tachycardia เป็นโรคหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ ไม่เป็นจังหวะทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที   Ventricular Fibrillation เป็นภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วไม่เป็นจังหวะ ทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที   Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดจังหวะ ที่เกิดจากหัวใจห้องบนกับห้องล่างเต้นไม่สัมพันธ์กัน และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ Bradycardia เป็นโรคหัวใจเต้นช้าผิดปกติ สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัน โดยมีสาเหตุแตกต่างกัน ดังนี้ หัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคที่มีทางลัดกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ลิ้นหัวใจรั่ว หรือผนังหัวใจรั่ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะแสดงอาการโรคหัวใจผิดจังหวะเมื่อโตขึ้นหรือในวัยทำงาน ความผิดปกติทางร่างกายที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น เบาหวาน […]

ศูนย์หัวใจ

แข็งแรงเพียงใดก็เสี่ยง “หัวใจวายได้”
หัวใจคุณยังแข็งแรงอยู่ไหม ? เคยถามตัวเองกันบ้างหรือเปล่า หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงห้ามหยุดพักแม้แต่นาทีเดียว คงเคยได้ยินข่าวนักฟุตบอลวัย 30 ต้น

ศูนย์หัวใจ

เทคนิควัดความดันโลหิตที่บ้าน
การวัดความดันโลหิตที่บ้านจำเป็นต้องวัดให้ถูกต้องเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด โดยปฏิบัติดังนี้ งดดื่มชา กาแฟก่อนวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที

ศูนย์หัวใจ

ค่าความดันโลหิตเท่าไหร่? ที่เรียกว่าสูง
ค่าความดันโลหิตแบ่งออกเป็น 2 ค่า คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว

ศูนย์หัวใจ

ระวังมีโรคซ่อน! หากเป็นความดันโลหิตสูงในช่วงอายุน้อยกว่า 35 ปี
ลดความดันโลหิตสูงได้แค่ปรับพฤติกรรม แต่ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 35 ปี อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากโรคที่ซ่อนอยู่ หากรักษาหายก็มีโอกาสที่ค่าความดันจะกลับมาเป็นปกติได้ ความดันโลหิตคือค่าความดันภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ
1849