ศูนย์สมองและระบบประสาท

โรคลมชัก รักษาได้ โอกาสหายสูง
อาการแสดงของโรคลมชัก อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ขับรถ ว่ายน้ำ หรือทำภารกิจสำคัญ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็อาจก่อให้เกิดอันตราย ปัจจุบันมีการพัฒนาตัวยารักษาโรคลมชักที่ทันสมัย ผู้ป่วยโรคลมชักที่เข้ารับการรักษากว่า 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ จึงสามารถหายได้ด้วยการเลือกและปรับยากันชักให้เหมาะสม

ศูนย์สมองและระบบประสาท

“ปวดหัว- เวียนหัว” สัญญาณอันตราย “เนื้องอกในสมอง”
“ปวดหัวมากๆ เวียนหัวบ่อยๆ” อาการเหล่านี้แม้จะเป็นอาการพบได้บ่อยเกือบทุกคนแต่ถ้าพบร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคเนื้องอกในสมอง” ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจรุนแรงถึงขั้นเสี่ยงอัมพาตครึ่งซีก หรือลุกลามกลายเป็น “โรคมะเร็งสมอง” ได้ อาการที่เข้าข่ายควรสังเกตตัวเองเพื่อรีบมาพบแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ท้องผูก นอนละเมอ อาการส่วนหนึ่งของโรคพาร์กินสัน
อาการทั่วไปของโรคพาร์กินสันที่หลายคนทราบ คืออาการสั่น เกร็ง และมีความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว แต่แท้จริงแล้วผู้ป่วยพาร์กินสันอาจมีปัญหาการขับถ่าย ท้องผูก และนอนละเมอได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น หากพบอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา แพทย์หญิงณัฎลดา ลิโมทัย อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ทำให้มีการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าโดปามีนลดลง ซึ่งสารโดปามีนมีหน้าที่หลักในการควบคุมการเคลื่อนไหว เรียบเรียงความนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ  โดยอาการของโรคพาร์กินสันมีทั้งที่แสดงออกทางการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) เช่น อาการสั่น อาการแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า ท่าเดินที่ผิดปกติ การทรงตัวที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งปัญหาการหกล้ม และ อาการแสดงที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-motor symptoms) จนบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าอาการเหล่านี้มีสาเหตุเกิดจากโรคพาร์กินสันเช่นกัน เช่น การนอนละเมอ (บางรายถึงขนาดทำร้ายร่างกายของคนที่นอนร่วมเตียง) และปัญหาการขับถ่ายโดยเฉพาะอาการท้องผูก ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากมีความเสื่อมของระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ โดยอาการเหล่านี้อาจพบเป็นอาการนำก่อนที่จะเริ่มพบอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวหรืออาการสั่นมาก่อนหลายปีก็ได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางส่วน อาจไม่ตระหนักถึงอาการของโรคเพราะคิดว่าเกิดจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมา เช่น มีความเสี่ยงหกล้มง่าย เพราะฉะนั้น หากเริ่มมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นควรไปพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาโรคพาร์กินสัน แพทย์จะแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการใช้ยา […]

ศูนย์สมองและระบบประสาท

หลอดเลือดสมองตีบตัน รักษาทัน ลดเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่เป็นมักมีอาการอย่างเฉียบพลัน แต่หากมาถึงมือแพทย์เร็วทันเวลา ก็มีโอกาสรักษาให้หายเป็นปกติได้

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ยิ่งเครียดมาก ยิ่งเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
เดือนเมษายนของทุกปีเป็นเดือนแห่งการรับรู้ถึงความเครียด หรือ Stress Awareness Month เพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบของความเครียด

ศูนย์สมองและระบบประสาท

สัญญาณเตือน ฮีทสโตรก โรคอันตรายที่มากับหน้าร้อน
สภาพอากาศในช่วงนี้ร้อนแรงจนทำให้ใครหลายคนเหงื่อตกจนไม่กล้าสู้แดดไปตามๆกัน มีการคาดการณ์ว่าฤดูร้อนปีนี้จะพุ่งสูงไปถึง 43 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว โดยแสงแดดและอากาศที่ร้อนระอุในช่วงกลางวัน ส่งผลให้ผู้ที่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ อาจมีความเสี่ยงอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ จากโรคลมแดด หรือ “ฮีทสโตรก” เนื่องจากร่างกายปรับสภาพไม่ทัน

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ลดอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน ด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่ไม่ตอบสนองต่อยาหรือมีอาการรุนแรง ช่วยลดอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้า และยังสามารถลดการรับประทานยาถึงร้อยละ 50

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ร้อนจัดต้องระวัง!! “ฮีทสโตรก” อันตรายถึงชีวิต
ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด ที่มาพร้อมอากาศร้อนจัดทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน เมื่อความร้อนในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส สมองในส่วนควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจึงเกิดความผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง

ศูนย์สมองและระบบประสาท

4 สาเหตุที่ทำให้สมองบวม
สมองบวม (Cerebral Edema) คือการที่มีของเหลวส่วนเกินสะสมในสมอง ทำให้สมองบวมและมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น อาจเกิดขึ้นทั่วทั้งสมองหรือกับสมองบางส่วน โดยภาวะสมองบวมแบ่งออกเป็น 4 สาเหตุ ดังนี้
1842