ศูนย์กระดูกสันหลัง

อาการและพฤติกรรมเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมประเภทหนึ่ง โดยเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกถูกทำลายเสียหายจนไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นผลจากการใช้งานกระดูกสันหลังอย่างหนักเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง สัญญาณของโรคนี้คืออาการชา อ่อนแรง ปวดหลังลามลงไปที่ขาหรือเท้า อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ หากเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นบริเวณข้อด้านล่างของกระดูกเอว ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงและพบได้บ่อยที่สุด อาจเสี่ยงอาการรุนแรงและจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามแนวกระดูกสันหลัง ตั้งแต่คอไปจนถึงหลังส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังบริเวณกลางหลังหรือเอวด้านล่าง อาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยอาการจะเด่นชัดขึ้นเมื่อไอ จาม หรือนั่งงอตัว ปวดขา กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขาจะทำให้มีอาการปวดเมื่อเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายในบางท่า ซึ่งเกิดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ขา ลงไปถึงเท้า นอกจากนี้อาจมีอาการชา ปวดร้าวลงขา และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น หลายพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้โดยไม่รู้ตัว ดังนี้ แบกของหนัก การแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะการแบกของที่ผิดท่าอาจทำให้ใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บและส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง ก้มเงยบ่อย หรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน การทำกิจกรรมก้ม ๆ เงย ๆ เป็นประจำ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ขัดห้องน้ำ เล่นสมาร์ทโฟน รวมถึงการนั่งท่าเดิมโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนั่งผิดท่า เช่น งอหลัง ก้มคอ […]

ศูนย์กระดูกสันหลัง

ขยับคอแล้วมีเสียง เสี่ยงอันตรายไหม
หากบิดหรือขยับคอไปมาแล้วมีเสียงดัง “กร๊อบ” ในกระดูกคอ อย่าเพิ่งตกใจไปเพราะเสียงเช่นนี้เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติเมื่อเราขยับร่างกายหรือข้อต่อกระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนไหว ทำให้ฟองอากาศที่อยู่ในข้อต่อแนวกระดูกสันหลังแตกจึงเกิดเสียงกร๊อบขึ้น

ศูนย์กระดูกสันหลัง

ทำความรู้จัก “เสื้อเกราะหยุดคด”
กระดูกสันหลังคดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ซึ่งการรักษาไม่ได้มีเพียงการผ่าตัดเท่านั้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยวัยเด็กที่พบความผิดปกติตั้งแต่มุมคดไม่เกิน 25 องศา และไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย แพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของมุมคด

ศูนย์กระดูกสันหลัง

สังเกตยังไง เป็นกระดูกสันหลังคด หรือเปล่า ?
เคยสังเกตเห็นตัวเอง หรือคนรอบตัว มีลักษณะคล้ายไหล่สองข้างไม่เท่ากัน แล้วลักษณะแบบนี้ใช่กระดูกสันหลังคดหรือเปล่า ?กระดูกสันหลังคด ส่วนใหญ่จะส่งผลต่อบุคลิกภาพ

ศูนย์กระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่ต้องผ่าตัดเสมอไป
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ว่าใคร สุขภาพดีเพียงใดก็เสี่ยงได้ เพราะสาเหตุหลักของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังจนเสื่อมสภาพ ก้มๆเงยๆ

ศูนย์กระดูกสันหลัง

3 ท่านอนลดอาการปวดหลัง
นอนตะแคงข้างก่ายหมอน นอนตะแคงข้างที่ถนัดหนุนหมอนที่ศีรษะตามปกติงอเข่าทั้งสองข้างและวางหมอนหนุนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่ให้เข่าที่อยู่ด้านบนแตะที่นอนมิฉะนั้นกระดูกสันหลังส่วนล่างจะพลิกซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดหลังและสะโพกได้

ศูนย์กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคด “ปล่อยไว้ได้ไหม”
บางคนคิดว่ากระดูกสันหลังคด เป็นแค่ผิดลักษณะ เพียงแค่เสียบุคลิกภาพ ไม่ต้องพบแพทย์ก็ได้ ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร แสดงว่ายังไม่รู้จักกระดูกสันหลังคดเพียงพอ สำหรับกระดูกสันหลังคด คือ ภาวะที่มีการบิดหมุนของกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวตรง หรือบิดเป็นตัว S หรือ C ซึ่งพบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่

ศูนย์กระดูกสันหลัง

ปวดคอ…แบบไหนสงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
กระดูกคอเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานคอผิดท่าเป็นเวลานาน ซึ่งปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อมในช่วงอายุที่น้อยลงมากขึ้น โดยมีอาการเริ่มแรกคือปวดตึงต้นคอหรือปวดคอร้าวไปที่สะบัก ปวดร้าวลงไปที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง ปวดที่ข้อไหล่และมีอาการไหล่ติดโดยกระดูกคอเสื่อม

ศูนย์กระดูกสันหลัง

2 ตำแหน่งอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ร่างกาย ก็เหมือนกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อใช้งานนาน ๆ ก็ย่อมเสื่อมสภาพตามกาลเวลา หมอนรองกระดูกก็เหมือนกัน ยิ่งผ่านการใช้งานหนัก ๆ ความเสื่อมก็ยิ่งมาเร็ว ประกอบกับพฤติกรรมเสี่ยง อย่างเช่น ปล่อยให้มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป , ก้ม ๆ เงยๆ ยกของหนักบ่อย ๆ , ขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือ นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ให้ระวังไว้เลยว่าอาจเสี่ยง โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกันได้ทุกคน ! แล้วอาการเป็นยังไงล่ะ มาดูกัน
5486