บทความสุขภาพ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่ต้องผ่าตัดเสมอไป

Share:

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ว่าใคร สุขภาพดีเพียงใดก็เสี่ยงได้ เพราะสาเหตุหลักของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังจนเสื่อมสภาพ ก้มๆเงยๆ ยกของหนักบ่อย ๆ ขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินค่ามาตรฐาน ยิ่งทำให้หมอนกระดูกเสื่อมสภาพ และเสี่ยงกับโรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทได้

ซึ่งการรักษาหากมาพบแพทย์แล้วตรวจพบความเสื่อมของหมอนรองกระดูกตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาเบื้องต้นได้ดังนี้

  • การรับประทานยาแก้อักเสบหรือคลายกล้ามเนื้อ
  • กายภาพบำบัด
  • การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าโพรงประสาท

ดังนั้น หากมีอาการปวดหลังบ่อย แล้วมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาก็สามารถทำได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป

แต่ถ้าหากมีอาการอยู่ในกลุ่มที่อันตราย เช่น อาการปวดร้าวจากคอ หรือหลังไปที่แขน หรือขา มีอาการชาแขน/ขา มีอาการอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อแขน/ขา ก็อาจจำเป็นจะต้องผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นกล้อง MICROSCOPE หรือ ENDOSCOPE ที่ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลงกว่าเดิม ผู้ป่วยจึงเสียเลือดน้อย และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลดลง ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298 , 2299

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (3 )
  • Your Rating