บทความสุขภาพ

Result 127 - of

ศูนย์มะเร็ง

มะเร็งปอด เช็กได้ ก่อนลุกลาม
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุ 55-75 ปี และสูบบุหรี่มากกว่า 30 มวน/ปี โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดปริมาณรังสีน้อย (Low Dose CT Scan) นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ ยังสามารถตรวจพบความผิดปกติในเบื้องต้น ได้จากการเอกซเรย์ปอด เช่น สามารถตรวจพบจุด หรือ ก้อนในปอดได้

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

รักษาต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ ไม่ต้องผ่าตัด
โรคต่อมลูกหมากโต เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ปัจจัยหลักเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชายเมื่ออายุมากขึ้น

ศูนย์กระดูกและข้อ

เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บ ทั้งจากอุบัติเหตุและการเล่นกีฬารักษาได้ด้วยการผ่าตัดแบบ One-Day Surgery ผ่าเช้า – เย็นกลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าเป็นเส้นเอ็นสำคัญที่ช่วยให้ข้อเข่ามีความมั่นคงขณะใช้งาน ไม่หมุนเคลื่อนหรือบิดผิดปกติในขณะเดินหรือวิ่งป้องกันข้อเข่าไม่ให้เกิดอันตรายต่อส่วนประกอบภายในอื่น ๆ ในข้อเข่า เช่นหมอนรองเข่า (Meniscus) หรือกระดูกอ่อนข้อเข่า (cartilage) เป็นต้น แต่ถ้าเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บหรือฉีกขาดแล้วไม่รีบรักษาอาจนำไปสู่ภาวะเข้าเข่าเสื่อมได้

ศูนย์ผิวหนังและความงาม

“ ผมร่วง ” เกิดได้จากหลายสาเหตุ
เส้นผมสุขภาพดี บ่งบอกถึงการดูแลตัวเองที่ดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้ แต่หากมีปัญหาผมร่วงไม่ว่าจากสาเหตุใด คงทำให้สูญเสียความมั่นใจได้เช่นกัน

ศูนย์ไตเทียม

5 ระยะความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังและการดูแล
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปรับการบริโภคอาหาร เพื่อชะลอความเสื่อมและลดโอกาสการดำเนินโรคเร็วกว่าที่ควรจะเป็น โดยสามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามระยะโรคได้ดังนี้

ศูนย์กุมารเวชกรรม

วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก จากเอนเทอโรไวรัส 71 (EV 71)
มือเท้าปาก โรคที่ผู้ปกครองกังวลมากที่สุด เพราะเป็นโรคที่ติดต่อกันง่ายมาก ผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก หรือการไอจามรดกัน หรือการสัมผัสของเล่นต่อกัน ฯลฯ

ศูนย์กระดูกและข้อ

5 โรคข้อไหล่ที่พบบ่อยและทำให้ปวดไหล่
อาการปวดไหล่เกิดได้ทั้งจากการใช้งาน อุบัติเหตุและความเสื่อม แต่ไม่ว่าจากสาเหตุไหนก็ควรรีบพบแพทย์ก่อนอาการจะรุนแรงหรือนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ

ศูนย์สุขภาพสตรี

เตรียมตัวฝากครรภ์อย่างไรให้ไร้กังวล | โรงพยาบาลเวชธานี
การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่มือใหม่ หรือคุณแม่ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วก็ตาม เนื่องจากสูตินรีแพทย์จะเข้ามาช่วยในการดูแลสุขภาพให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกให้ปลอดภัยในทุก ๆ ด้าน เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่ มีภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นหรือไม่ และเพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี การฝากครรภ์ควรฝากที่คลีนิกฝากครรภ์ แผนกสูตินรีเวช เพื่อให้สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ได้ตรวจประเมินปัจจัยเสี่ยง และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีหากมีภาวะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปฝากครรภ์ สำหรับการเตรียมตัวในการฝากครรภ์ ควรเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การจดบันทึกเกี่ยวกับสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ ประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ไปจนถึงประวัติการตั้งครรภ์ของผู้ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น ประวัติสุขภาพทั่วไป ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต ประจำเดือนครั้งสุดท้าย ประวัติการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การคลอด การแท้งบุตร และภาวะตกเลือด อาการแพ้ท้อง หากมีอาการแพ้ท้องระหว่างตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้สูตินรีแพทย์ทราบว่ามีอาการอย่างไรบ้าง ประวัติการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ประวัติการใช้ยา  ประวัติการแพ้ยา โดยเฉพาะประวัติการแพ้ยาชา ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์หลีกเลี่ยงการใช้ ประวัติอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่กระทบบริเวณอุ้งเชิงกรานและอวัยวะเพศ ประวัติการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดมดลูก ปากมดลูก […]

ศูนย์สุขภาพสตรี

เช็กเนื้องอกมดลูก โรคไม่ร้ายแรงแต่ต้องหมั่นสังเกต
“พุงป่อง” ทั้งที่น้ำหนักตัวไม่มาก อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากไขมันสะสมที่หน้าท้อง แต่อาจจะเป็นเพราะก้อนเนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่ หรือมีหลายก้อน ดังนั้น ก่อนที่สาว ๆ จะสรุปว่าก้อนกลม ๆ บนหน้าท้องคือไขมันสะสม เรามาลองเช็กไปกันก่อนดีกว่าว่า แท้จริงแล้วคือเนื้องอกมดลูกหรือไม่ สาเหตุและลักษณะของเนื้องอกมดลูก เนื้องอกในมดลูกเป็นโรคยอดฮิตที่มักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือช่วงอายุ 30-50 ปี ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก ทำให้เกิดก้อนเนื้อขึ้นมา บางรายอาจมีแค่ก้อนเล็ก ๆ เพียงก้อนเดียว บางรายเป็นก้อนใหญ่และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หรืออาจมีโอกาสเกิดขึ้นหลายก้อนก็ได้เช่นกัน เนื้องอกชนิดนี้ ถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน ความเสี่ยงการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้นหากมีคนในครอบครัวเป็นเนื้องอกมดลูกด้วย หลังจากเข้าวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เนื้องอกนี้ก็จะมีขนาดเล็กลงได้ แต่อาจจะไม่ได้สลายหายไปทั้งหมด เช็กอาการที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นเนื้องอกมดลูก ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นเนื้องอกมดลูก ไม่มีอาการใด ๆ แต่ก็มีไม่น้อย ที่มีอาการต่างๆเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้หญิงหลายคนที่มีเนื้องอกมดลูกแต่ไม่มีอาการใดๆ ดังนั้นการตรวจภายใน หรือเช็กสุขภาพ จะช่วยให้เราพบโรคนี้ได้ตั้งแต่ก้อนยังไม่ได้มีขนาดใหญ่ เนื้องอกมดลูกแบบไหนถึงอันตราย เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกไม่ได้เป็นอันตรายเสมอไป หากคนไข้ไม่มีอาการและก้อนเนื้อมีขนาดเล็ก แพทย์จะเพียงนัดตรวจติดตามขนาดของก้อนเนื้องอก เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกนี้ ปัจจุบันยังไม่มียาใดทำให้เนื้องอกเสื่อมสลายไปได้หมด ดังนั้น ในคนที่มีเนื้องอกใหญ่ หรือมีอาการจากเนื้องอก หากรักษาตามอาการแล้วไม่ดีขึ้น เราจึงแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัด […]
1351282