ศูนย์สุขภาพสตรี

9 อาหารกระตุ้นปัสสาวะเล็ด
ปัญหาปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง มักนำมาซึ่งความไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการรักษาเบื้องต้นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีสารกระตุ้นให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด

ศูนย์สุขภาพสตรี

3 กลุ่มโรคของรังไข่
"โรคของรังไข่" ข้างต้นนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ ถุงน้ำรังไข่, เนื้องอกรังไข่ และ มะเร็งรังไข่ ทั้งถุงน้ำรังไข่ เนื้องอก หรือมะเร็งรังไข่ก็ตาม มีอาการที่ "เหมือน" กัน ดังนี้ 1. ไม่มีอาการ คนที่มีถุงน้ำรังไข่จำนวนมาก ไม่มีอาการ ตรวจพบได้จากการตรวจอัลตราซาวนด์ตอนตรวจสุขภาพ แม้แต่มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มต้น ก็อาจไม่มีอาการใดๆเลยได้

ศูนย์สุขภาพสตรี

คนท้องกินเจอย่างไร ให้ดีต่อลูกน้อย
อีกไม่กี่วันจะเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจแล้ว หลายคนอาจจะเริ่มเตรียมวัตุดิบหรือจัดหาเมนูอาหารสำหรับการกินเจตลอด 9 วัน แต่ในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการกินเจมากขึ้น เพราะเมนูอาหารบางประเภท อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้

ศูนย์สุขภาพสตรี

3 สิ่งนี้ที่คุณแม่ครรภ์แฝดต้องใส่ใจ
ตั้งครรภ์แฝดจะต้องดูแลตัวเองมาก ขึ้นถึง 2 เท่า เพราะถึงแม้เรื่องตั้งครรภ์แฝดจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีของใครหลายคน แต่ก็มีความเสี่ยงสูงแอบแฝงอยู่ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนกับคุณแม่และลูกน้อยระหว่างตั้งครรภ์ได้

ศูนย์สุขภาพสตรี

ถุงน้ำรังไข่ เป็นๆหายๆ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
ถุงน้ำรังไข่ที่บวมๆยุบๆ เป็นๆหายๆได้นั้น มักจะเป็นในเรื่องของ “ถุงน้ำจากการทำงานของรังไข่” นั่นเอง รังไข่ของผู้หญิงเรามี 2 ข้าง

ศูนย์สุขภาพสตรี

อาการบอกโรค เนื้องอกมดลูก
อาการเตือนที่บอกว่าเราอาจจะเป็นเนื้องอกมดลูก สำหรับอาการของเนื้องอกมดลูกที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นมานานขึ้น มาบ่อยขึ้น หรือมามากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ และอาจจะมีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย

ศูนย์สุขภาพสตรี

COVID-19 กับคุณแม่ให้นมบุตร
ช่วงนี้คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนต่างมีความกังวลใจกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือแม้แต่การรับวัคซีนป้องกันในช่วงที่กำลังในนมบุตรอยู่ เพราะกลัวว่าถ้ารับวัคซีนไปแล้วจะไม่สามารถให้นมได้ วันนี้หมอแอนจะมาทำ

ศูนย์สุขภาพสตรี

รู้จักเนื้องอกมดลูกโรคยอดฮิตในผู้หญิง
“ไปตรวจสุขภาพมาเจอเนื้องอกมดลูก ต้องรีบผ่าล่ะ”  “ไปตรวจมาเหมือนกัน แต่หมอบอกว่าให้รอดูก่อนว่าเนื้องอกโตขึ้นหรือเปล่า ค่อยมาผ่าทีหลัง” เมื่ออายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ผู้หญิงเรามักจะมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโรคของมดลูกและรังไข่ตั้งแต่อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวเนื่องจากประจำเดือน ไปจนถึงเนื้องอกและมะเร็งมดลูกที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้หญิงทุกคน และหนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงคือเนื้องอกมดลูกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัยแต่ละคนอาจมีความรุนแรงไม่เท่ากันซึ่งการทำความเข้าใจโรคเนื้องอกมดลูกรู้จักวิธีการรักษารวมถึงการดูแลตัวเองจะช่วยให้ความกังวลลดลงได้ มาทำความรู้จักเนื้องอกมดลูก เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อมดลูกและเป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยของอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกโดยสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงดังนั้นจึงพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์คือตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน  ประเด็นแรกที่ผู้หญิงทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือเนื้องอก “ไม่ใช่” เนื้อร้ายหรือมะเร็งเสมอไปไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลจนเกินไปเพราะส่วนใหญ่จะเป็นเนื้องอกขนาดเล็กที่ไม่กระทบต่อสุขภาพยกเว้นเนื้องอกจะเป็นเนื้องอกที่มีอาการ หรือมีขนาดใหญ่จนไปเบียดอวัยวะข้างเคียงก็อาจทำให้มีผลกระทบจากอวัยวะที่โดนเบียดได้โดยทั่วไปเนื้องอกอาจจะเติบโตอย่างช้า ๆ หรืออาจจะไม่เติบโตขึ้นเลยอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้เพราะฉะนั้นควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อทราบแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป ใครที่เสี่ยงเป็น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าผู้หญิงในวัยเจริญพันธ์ทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นเนื้องอกมดลูกแต่มักจะพบบ่อยในกลุ่มต่อไปนี้  กลุ่มผู้หญิงอายุ25 – 30 ปี ซึ่งพบในอัตราร้อยละ 30-50 ขณะที่ในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเนื้องอกจะมีขนาดเล็กลงเอง  มีประวัติคนในครอบครัวมีเนื้องอกมดลูก มีแนวโน้มที่จะเป็นมากกว่าผู้ที่ไม่มีคนในครอบครัวเป็นเนื้องอกในมดลูกซึ่งความเสี่ยงทางพันธุกรรมนี้จะเกี่ยวข้องกับระดับและการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคแต่อย่างใด  มีประวัติรับประทานยาและสารที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งกระตุ้นให้เนื้องอกมดลูกโตขึ้นได้ เนื้องอกมดลูกมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นมะเร็งเพียงร้อยละ 0.25 – 1.08 เท่านั้นเพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลหากตรวจพบในครั้งแรกเพียงแต่ต้องคอยตรวจติดตามและมาตามนัดของแพทย์ของอย่างสม่ำเสมอ  อาการเตือนที่บอกว่าเราอาจจะเป็นเนื้องอกมดลูก สำหรับอาการของเนื้องอกมดลูกที่พบได้บ่อย ได้แก่  ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นมานานขึ้น มาบ่อยขึ้น หรือมามากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ และอาจจะมีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย  ปัสสาวะบ่อยกลั้นปัสสาวะลำบากและท้องผูกเรื้อรัง เนื่องจากก้อนของเนื้องอกไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้  คลำเจอก้อนเนื้อ ในกรณีที่เนื้องอกมดลูกมีขนาดใหญ่หรือ/และมีจำนวนมากจะสามารถคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือช่องท้อง ซึ่งจะสังเกตได้จากบริเวณท้องน้อยที่บวมหรือโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีบุตรยาก หรือแท้งบ่อย เกิดจากการไปขัดขวางการฝังตัวของทารก […]

ศูนย์สุขภาพสตรี

“ตั้งครรภ์อุ่นใจ” ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์
หลังจากคุณแม่ทราบว่าเริ่มตั้งครรภ์ และได้ฝากครรภ์กับสูติ-นรีแพทย์แล้ว การตรวจอัลตราซาวนด์ในแต่ละไตรมาส ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยวินิจฉัยภาวะผิดปกติ และตรวจพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์
1867