รู้จักมะเร็งตับอ่อน ก่อนที่จะสายเกินไป
“มะเร็งตับอ่อน” เป็นมะเร็งชนิดที่เราพบได้เป็นลำดับที่ 10 ของมะเร็งที่คนไทยเป็นในเพศชาย (ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ปี 2563) แต่อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งตับอ่อนสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากในช่วงเเรกผู้ป่วยไม่มีอาการที่จำเพาะต่อโรคจึงวินิจฉัยได้ยาก กว่าจะรู้ตัวอีกทีเซลล์มะเร็งก็ลุกลามไปมากแล้ว ด้วยเหตุนี้เราจึงควรสังเกตอาการและเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสการเสียชีวิตให้น้อยลง รู้จักตับอ่อนและมะเร็งตับอ่อน “ตับอ่อน” เป็นอวัยวะในระบบย่อยอาหาร ที่ตำเเหน่งอยู่ลึกเข้าไปบริเวณหลังกระเพาะอาหาร เเละอยู่ด้านหน้ากระดูกสันหลังกลางลำตัว บริเวณส่วนหัวตับอ่อนถูกล้อมด้วยส่วนโค้งของลำไส้เล็กตอนต้น อยู่กลางช่องท้องบริเวณลิ้นปี่เเละทอดยาวไปทางซ้ายโดยส่วนปลายหางของตับอ่อนไปติดชิดกับม้าม ตับอ่อนมีขนาดความยาวประมาณ 12-15 ซม. ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยสำหรับการย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เพื่อใช้ในการดูดซึมในลำไส้เล็ก อีกทั้งตับอ่อนยังสร้างอินซูลินเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาล ดังนั้น หากตับอ่อนทำงานผิดปกติก็จะทำให้การย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันในลำไส้เล็ก และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีความผิดปกติตามไปด้วย แม้ว่ามะเร็งตับอ่อนจะพบได้ไม่บ่อยนัก การวินิจฉัยค่อนข้างยาก ประกอบกับเมื่อเป็นมะเร็งในระยะแรกมักไม่แสดงอาการบ่งชี้ที่ชัดเจน จึงมักตรวจพบเมื่อมะเร็งตับอ่อนอยู่ในระยะลุกลาม และไม่สามารถผ่าตัดให้หายขาดได้ ที่สำคัญยังไม่มีการค้นพบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ แต่มักจะพบในผู้ที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงดังต่อไปนี้ อาการบ่งชี้ของมะเร็งตับอ่อน แม้ว่าอาการของมะเร็งตับอ่อนในระยะแรกจะไม่ได้ชัดเจน แต่มักจะเจอความผิดปกติเมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยพบว่าผู้ป่วยมักมีความผิดปกติดังต่อไปนี้ การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนได้แม่นยำที่สุดคือการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การส่องกล้องอัลตราซาวนด์ Endoscopic ultrasound(EUS) ในบางครั้งอาจจะใช้การตรวจเลือด […]

สัญญาณนิ่วในถุงน้ำดี ปวดท้องเหมือนโรคธรรมดาแต่อันตรายกว่าที่คิด
ในระยะแรกของนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่จากการอุดตันของนิ่วในท่อของถุงน้ำดี ชึ่งจะคล้ายกับอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร อาจจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เหมือนอาหารไม่ย่อย ปวดจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่

ERCP + LC ส่องกล้องท่อทางเดินน้ำดี รักษานิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในท่อน้ำดี พร้อมกันในครั้งเดียว
ขึ้นชื่อว่า “ นิ่วในถุงน้ำดี ” มักมีความซับซ้อนในการรักษา โดยเฉพาะหากปล่อยทิ้งไว้จนนิ่วหลุดมาอุดตันที่ท่อน้ำดี จะยิ่งทำให้การรักษามีความยากมากขึ้น เพราะการรักษานิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในท่อน้ำดี จำเป็นต้องทำผ่าตัด 2 หัตถการ

“นิ่วในถุงน้ำดี” ผ่าตัดรักษาตรงจุดกว่า เสี่ยงน้อย
ภาวะโรคอ้วนในประเทศไทย มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนพฤติกรรรมของคนไทยในการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือโรคนิ่วในถุงน้ำดี
44