ศูนย์สมองและระบบประสาท

3 สัญญาณ ปวดหัวอันตราย เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์กว่าร้อยละ90 จะเป็นอาการปวดหัวทั่วไปไม่อันตราย

ศูนย์สมองและระบบประสาท

อาการชาที่เกิดกับร่างกายบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง
ปัจจุบัน แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการชา ได้ด้วยการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (Electrodiagnosis) ซึ่งประกอบด้วย การตรวจเพื่อวัดค่าคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG)

ศูนย์สมองและระบบประสาท

“หลอดเลือดสมอง”  รู้เร็ว รักษาทัน ลดเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ความรุนแรงสามารถทำให้มีภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที  

ศูนย์สมองและระบบประสาท

Biplane DSA ช่วยลดอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง
อาการปวดหัวบ่อย ๆ พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณของ “เนื้องอกในสมอง(Brain Tumor)” ที่บางคนอาจไม่รู้ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นั่งนิ่ง เหม่อลอย หนึ่งในอาการชักที่ต้องสังเกต
ซึ่งอาการชักแบบเหม่อลอย คนทั่วไปมักไม่ทราบว่าลักษณะนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการชัก เพราะฉะนั้น หากสังเกตเห็นว่าคนรอบข้างมีอาการลักษณะนี้ ควรแจ้งให้เจ้าตัวทราบ และมาพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม โดยในปัจจุบัน โรคลมชัก สามารถรักษาให้หายด้วยการควบคุมไม่ให้มีอาการชักด้วยยากันชักได้ถึง 60 – 70%

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เข้าใจภาวะสมองเสื่อม เพื่อดูแลคนใกล้ตัวอย่างถูกวิธี
ภาวะสมองเสื่อม ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นความเสื่อมตามวัย ส่งผลให้ความจำหรือการรับรู้บกพร่องไป หากคนใกล้ตัวของผู้ป่วยพามาพบแพทย์เร็ว ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมลงได้

ศูนย์สมองและระบบประสาท

โรคลมชัก รักษาได้ โอกาสหายสูง
อาการแสดงของโรคลมชัก อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ขับรถ ว่ายน้ำ หรือทำภารกิจสำคัญ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็อาจก่อให้เกิดอันตราย ปัจจุบันมีการพัฒนาตัวยารักษาโรคลมชักที่ทันสมัย ผู้ป่วยโรคลมชักที่เข้ารับการรักษากว่า 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ จึงสามารถหายได้ด้วยการเลือกและปรับยากันชักให้เหมาะสม

ศูนย์สมองและระบบประสาท

“ปวดหัว- เวียนหัว” สัญญาณอันตราย “เนื้องอกในสมอง”
“ปวดหัวมากๆ เวียนหัวบ่อยๆ” อาการเหล่านี้แม้จะเป็นอาการพบได้บ่อยเกือบทุกคนแต่ถ้าพบร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคเนื้องอกในสมอง” ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจรุนแรงถึงขั้นเสี่ยงอัมพาตครึ่งซีก หรือลุกลามกลายเป็น “โรคมะเร็งสมอง” ได้ อาการที่เข้าข่ายควรสังเกตตัวเองเพื่อรีบมาพบแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ท้องผูก นอนละเมอ อาการส่วนหนึ่งของโรคพาร์กินสัน
อาการทั่วไปของโรคพาร์กินสันที่หลายคนทราบ คืออาการสั่น เกร็ง และมีความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว แต่แท้จริงแล้วผู้ป่วยพาร์กินสันอาจมีปัญหาการขับถ่าย ท้องผูก และนอนละเมอได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น หากพบอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา แพทย์หญิงณัฎลดา ลิโมทัย อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ทำให้มีการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าโดปามีนลดลง ซึ่งสารโดปามีนมีหน้าที่หลักในการควบคุมการเคลื่อนไหว เรียบเรียงความนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ  โดยอาการของโรคพาร์กินสันมีทั้งที่แสดงออกทางการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) เช่น อาการสั่น อาการแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า ท่าเดินที่ผิดปกติ การทรงตัวที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งปัญหาการหกล้ม และ อาการแสดงที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-motor symptoms) จนบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าอาการเหล่านี้มีสาเหตุเกิดจากโรคพาร์กินสันเช่นกัน เช่น การนอนละเมอ (บางรายถึงขนาดทำร้ายร่างกายของคนที่นอนร่วมเตียง) และปัญหาการขับถ่ายโดยเฉพาะอาการท้องผูก ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากมีความเสื่อมของระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ โดยอาการเหล่านี้อาจพบเป็นอาการนำก่อนที่จะเริ่มพบอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวหรืออาการสั่นมาก่อนหลายปีก็ได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางส่วน อาจไม่ตระหนักถึงอาการของโรคเพราะคิดว่าเกิดจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมา เช่น มีความเสี่ยงหกล้มง่าย เพราะฉะนั้น หากเริ่มมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นควรไปพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาโรคพาร์กินสัน แพทย์จะแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการใช้ยา […]
939