บทความสุขภาพ

หนุ่ม สาว ไม่ขยับร่างกาย ระวังสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไม่รู้ตัว

Share:

ในช่วงสถานการณ์  COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้กิจวัตรประจำวันที่เคยทำถูกจำกัด ขาดการออกกำลังกาย หลายคนรับประทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ หรือเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อพร่อง (Sarcopenia) ซึ่งปกติแล้วมักพบในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบภาวะนี้ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 60 ปีมากขึ้น

อาการของภาวะมวลกล้ามเนื้อพร่อง ประกอบด้วย

  • ล้าง่าย เดิน วิ่งได้ระยะทางสั้นลง
  • ลุกยืนลำบาก
  • ขึ้นลงบันไดลำบาก
  • ทรงตัวได้ไม่ดี เซล้มง่าย
  • น้ำหนักลดลง กล้ามเนื้อเหลว
  • ยกของได้น้อยลง ล้าแขนง่าย
  • คุณภาพชีวิตลดลง และอาจเกิดโรคซึมเศร้า
  • นำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนหรือภาวะติดเตียงได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้อพร่อง ควรรีบพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินมวลกล้ามเนื้อ ด้วยเครื่องมือ Bioelectrical Impedence Analysis (BIA) หากพบว่ามวลกล้ามเนื้อน้อยแพทย์จะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดด้วยโปรแกรมเฉพาะบุคคล เพื่อฟื้นฟูมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย เพื่อให้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ หรือเล่นกีฬาได้ดังเดิม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (2 )
  • Your Rating