บทความสุขภาพ

นมผงอุดมสารอาหารที่ว่าแน่ ก็สู้นมจากแม่ไม่ได้

Share:

โดย พญ. ศรีวิไล ทัศนวิภาส
กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเวชธานี

ในยุคที่ผู้หญิงไม่ได้มีเพียงบทบาทของการเป็นแม่บ้านเหมือนในอดีต เรื่องของเวลาจึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ของการทำหน้าที่แม่ให้เต็มที่ในช่วงที่ต้องตั้งครรภ์จนกระทั่งลูกเกิด

ปัจจุบันนี้องค์กรอนามัยโลกจึงมีการรณรงค์แนะนำว่าควรให้เด็กทารกกินนมแม่อย่างเดียวถึงอายุ 6 เดือน ซึ่งด้วย ระยะเวลานี้ อาจนานเกินกว่าที่คุณแม่บางท่านจะสามารถให้ทารกกินนมแม่ได้ ทางเลือกอย่างอื่นเช่น การปั๊มนมเก็บ ให้ลูกไว้กิน และการให้นมผงดัดแปลงสำหรับเด็กทารกจึงเป็นทางออกที่คุณแม่ยุคใหม่หันมาทำกันมากขึ้น ซึ่ง แพทย์หญิงศรีวิไล ทัศนวิภาส กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเวชธานีนั้นแนะนำถึงความแตกต่างของ คุณภาพน้ำนมทั้ง 2 ชนิดนี้ว่า

แม้ทารกที่กินนมแม่หรือนมผสมจะสามารถเจริญ เติบโตได้เหมือนกัน แต่นมผสมก็ไม่เหมือนนมแม่ ทุกประการ เพราะสารอาหารและสารประกอบหลายชนิด ที่นมแม่มีแต่นมผงไม่มี โดยเฉพาะสารภูมิคุ้มกัน และ เซลล์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อของเด็กทารกหลัง คลอดจะสร้างหัวน้ำนม หรือน้ำนมเหลือง (Colostrum) ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งมีปริมาณน้อยแต่จะมีคุณค่า ทางโภชนาการและภูมิคุ้มกันสูง ทั้งนี้น้ำนมที่มีสีเหลือง เพราะมีสารเบตาแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ สำคัญและเป็นน้ำนมที่มีระดับภูมิคุ้มกันสูง

นอกจากนี้ นมแม่ยังมีโปรตีนเวย์มากถึง 60% ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย และดูดซึมอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโปรตีนใน นมผสม ที่ส่วนมากเป็นโปรตีนเคซีน ซึ่งย่อยยากกว่า อีกทั้งยังมี การจับตัวเป็นก้อนในกระเพาะอาหาร มากไป กว่านั้นนมแม่ ยังมีแร่ธาตุหลักที่สำคัญเช่น เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ที่สามารถดูดซึมได้ถึง 50-70% แม้จะมีปริมาณ น้อยกว่า นมผง แต่แร่ธาตุเหล่านี้ในนมผงดูดซึมได้เพียง 4% คุณภาพของน้ำนมแม่จึงมีมากกว่า อีกทั้งยังสามารถผลิตได้เองตามกลไกของร่างกาย ซึ่งตัวของคุณแม่ที่อยู่ใน ระหว่างการให้นมลูก จึงต้องบำรุงคุณภาพของน้ำนมให้มีสารอาหารที่ครบถ้วนเพื่อลูก

โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิดได้แนะนำเพิ่มเติมว่า ควรให้ลูกดูดนมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ กระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างน้ำนม เพราะถ้าลูกดูดนมน้อย หรือแทบไม่ดูดเลย จะส่งผลให้การผลิต น้ำนมตามกลไกของร่างกาย ค่อยๆหมดไป นอกจากนี้คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 1.5 -2 ลิตร/วัน ร่วมกับ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่เชื่อว่ามีสรรพคุณในการเพิ่มน้ำนม มักเป็นอาหาร ที่มีรสร้อนเมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนดีขึ้น ทำให้มีน้ำนมปริมาณมากขึ้น เช่น หัวปลี แกงเลียง กุ้ยช่าย ฟักทอง มะละกอ ขิง และพริกไทย

นมแม่จะช่วยเสริมให้เด็กมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหลาย ชนิด ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคภูมิแพ้ ,โรคหอบหืด ,โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และโรคติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะ ส่วนในเรื่องระบบขับถ่าย เด็กที่ทานนมแม่ จะมี อุจจาระนิ่ม ถ่ายได้บ่อยครั้ง และจะเป็นโรคท้องผูก ได้ น้อยกว่าเด็กที่ทานนมผสม รวมทั้งนมแม่ยังส่งผลดีต่อ พัฒนาการทางสมองของเด็กมากกว่า นอกจากนี้ความ ใกล้ชิดกับแม่ยังก่อให้เกิดความอบอุ่น และความ ปลอดภัย แก่ลูก

สำหรับคุณแม่เองการให้นมลูกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ก็มีข้อดีอยู่มากมาย เช่น การให้ลูกดูดนมแม่จากอก ช่วยให้แม่หลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งทำให้มดลูกหดตัวเข้าที่ได้รวดเร็ว ลดปัญหาการตกเลือดหลังคลอด , ช่วย เผาผลาญไขมันต่างๆ ตามหน้าท้องทำให้รูปร่างกลับมาผอมเพรียวได้เร็วกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผง, ช่วยลดการเกิด มะเร็งเต้านม, ยับยั้งการตกไข่ไปได้ระยะหนึ่ง ทำให้ไม่มีประจำเดือนในขณะให้นมบุตร ซึ่งช่วยในเรื่องการคุมกำเนิด ด้วย และที่สำคัญคือแม่จะได้ใกล้ชิดกับลูก เพราะมีการสัมผัสอย่างแนบแน่น เป็นการสร้างความผูกพันที่ดีระหว่างแม่ และลูก

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (3 )
  • Your Rating