บทความสุขภาพ

หินปูนเต้านมชนิดอันตราย: สัญญาณเตือนภัยที่ไม่ควรมองข้าม

Share:

หินปูนในเต้านม เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยโดยมักไม่มีอาการและตรวจพบได้จากการตรวจแมมโมแกรม อย่างไรก็ตาม หินปูนบางชนิดอาจเป็นรอยโรคที่มีเป็นมะเร็ง หรือรอยโรคบางประเภทที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่สูงขึ้น
โดยการจำแนกหินปูนเต้านมชนิดอันตราย จะสามารถดูได้จาก

  • รูปร่าง
  • ขนาด
  • การกระจายตัว
  • การเปลี่ยนแปลงจากการตรวจติดตาม

หินปูนในเต้านมนั้น จะพบจากการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น พบได้ยากจากการคลำเต้านมหรือการตรวจอัลตราซาวด์ ดังนั้นการตรวจคัดกรองแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปีในผู้หญิงที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป จะช่วยให้สามารถพบรอยโรคแบบหินปูนได้ รวมถึงช่วยในการติดตามหินปูนได้ด้วย

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมให้เป็นแบบ 3 มิติ (Digital breast tomosynthesis) ใช้เวลาถ่ายภาพเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อท่า ได้ภาพหินปูนที่ละเอียดเเละคมชัดถึงระดับมิลลิเมตร และหากพบว่ามีความผิดปกติในเต้านม สามารถเจาะชื้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยได้ทันที โดยการฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบ มีแผลขนาดเล็กเท่ารูเข็ม เจ็บตัวน้อย และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2715, 2716

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (4 )
  • Your Rating