บทความสุขภาพ

คุณกำลังเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่หรือเปล่า

Share:

หลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มักเกิดในผู้ชายที่อายุมากกว่า 55 ปี ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี หรือคนที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมัน สูบบุหรี่เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนคนที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ซึ่งโรคนี้มักไม่แสดงอาการตั้งแต่ระยะแรก

แต่ถ้า ! ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเจ็บจุกเหมือนมีอะไรกดทับที่หน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจไม่สุด เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติหรืออาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น นั้นแปลว่าหลอดเลือดมีภาวะตีบมากกว่าร้อยละ 50 แล้ว ดังนั้น การตรวจหาความผิดปกติหรือการตรวจเช็กการทำงานของหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง จะค้นพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกและทำให้การรักษาไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อน

วิธีการตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ

  1. ตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจว่ามีภาวะตีบ ตัน หรือรั่ว
  2. การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ คือการฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูทางเดินหลอดเลือดหัวใจ และดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของลิ้นหัวใจ

หากประเมินแล้วว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง แพทย์จะพิจาณาการรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจเพื่อใส่ขดลวดค้ำยัน เพื่อป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตกะทันหันได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 5300

  • Readers Rating
  • Rated 3.7 stars
    3.7 / 5 (5 )
  • Your Rating