บทความสุขภาพ

พึงระวัง “ ถ่ายเป็นเลือด ” จุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรง

Share:

อาการ ถ่ายเป็นเลือด หลายคนอาจจะคิดว่าไม่น่ากลัว แค่โรคธรรมดา ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ แต่ใครจะรู้ว่าจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของอาการถ่ายเป็นเลือด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงที่น่ากลัว เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก หรือจะเป็นโรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม อย่างโรคริดสีดวงทวาร โรคบิด โรคเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก ฯลฯ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่า ลำไส้ ทวารหนัก และอวัยวะภายในร่างกายของเรา กำลังเริ่มมีปัญหาและอาจมีโรคแทรกซ้อน

สำหรับสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือด เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายใน เช่น เป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร หรือปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรมผิดปกติ เช่น อาการท้องผูกเป็นประจำ ซึ่งการถ่ายเป็นเลือดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. ถ่ายปนเลือดสีแดงสด มีความเกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
    1.1 เลือดออกในลำไส้ใหญ่ เลือดมักจะมีสีแดงสดจากเลือดใหม่และมีสีแดงคล้ำหรือลิ่มเลือดปนอยู่ด้วยจากเลือดที่ตกค้างอยู่ภายใน หากมีเลือดออกเป็นจำนวนมากผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องรวมอยู่ด้วย หากมีอาการเช่นนี้แนะนำให้เก็บเลือดบางส่วนไปให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุของการมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่
    1.2 ท้องผูก เลือดสีแดงสดอาจมาจากอาการท้องผูก ก้อนอุจจาระมีขนาดใหญ่และแข็งทำให้รูทวารบาดเจ็บฉีกขาดได้ หากนี่เป็นสาเหตุ บริเวณรูทวารของผู้ป่วยมักมีอาการแสบ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้ชนิดต่างๆ เพื่อให้อุจจาระนิ่ม
    1.3 โรคริดสีดวงทวารหนัก มีสาเหตุมาจากอาการท้องผูก อาจถ่ายเป็นเลือดโดยมีเลือดสีแดงสดไหลออกมาเป็นจำนวนมาก อาจไหลออกมาเป็นหยดหรือเป็นสายเลือดขณะถ่ายอุจจาระ
  1. ถ่ายปนเลือดสีแดงคล้ำ บ่งบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่
  2. ถ่ายปนลิ่มเลือด อาจมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งลำไส้ การติดเชื้อในลำไส้ใหญ่

การวินิจฉัย ตรวจวินิจฉัยด้วยการซักประวัติ และความรุนแรงของอาการ ปริมาณเลือด และตรวจร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและลำไส้ทั้งหมด รวมถึงบริเวณทวารหนัก หรืออาจตรวจเพิ่ม ดังต่อไปนี้

  • การส่องกล้อง ตรวจทวารหนัก (Proctoscope) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อภายในลำไส้ตรงและทวารหนัก
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Flexible Sigmoidoscopy) เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (Colonoscopy) เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเวชธานี โทร 02-734-0000 ต่อ 4500 , 4501

  • Readers Rating
  • Rated 4.2 stars
    4.2 / 5 (10 )
  • Your Rating