บทความสุขภาพ

เอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

Share:

โรคเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ อาจเป็นชื่อโรคที่หลายๆ คนคุ้นหู แต่อาจเกิดความสงสัยว่าโรคดังกล่าว จะเกิดขึ้น ด้วยสาเหตุใด เกี่ยวกับน้ำหนักตัวหรือไม่ การยืนนานๆ หรือแม้กระทั่งการใส่รองเท้าส้นสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุ ด้วยใช่หรือไม่

วันนี้ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เชี่ยวชาญ ด้านข้อเท้าและเท้า โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายถึงโรคดังกล่าว ว่า อาการปวดส้นเท้าเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยกระดูกและข้อ สาเหตุของอาการปวดส้นเท้ามีหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเส้นเอ็น ใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือ โรครองช้ำ, ภาวะไขมันบริเวณส้นเท้าบาง ลง, การกดทับของเส้นประสาทบริเวณส้นเท้า, การบาดเจ็บของ กระดูกส้นเท้า และเนื้องอกของกระดูกส้นเท้า เป็นต้น

ถึง 1 นิ้วครึ่ง ควรปรับลดกิจกรรมที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ หากน้ำหนักตัวมากเกินไป ควรลดน้ำหนักตัวเพื่อลดแรง ที่มากระทำต่อส้นเท้า อย่างไรก็ตาม หากเป็นคนที่ออก กำลังกายเป็นประจำ ควรปรับเปลี่ยนประเภทของการออก กำลังกายในช่วงที่มีอาการ โดยกีฬาที่เหมาะสม ได้แก่ การว่ายน้ำ การเดิน หรือวิ่งในน้ำ การปั่นจักรยาน เป็นต้น

ทั้งนี้ หากปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์ อาจพิจารณาฉีดยาต้านการอักเสบบริเวณส้นเท้า, การใช้คลื่น กระแทก และในปัจจุบันยังมีการฉีดเกล็ดเลือด ซึ่งได้จากการ เจาะเลือดผู้ป่วยมาปั่นแยกเอาเฉพาะส่วนเกล็ดเลือด แล้วฉีด เข้าไปบริเวณเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าที่มีการอักเสบ

นพ.กฤษฎิ์ กล่าวด้วยว่า หากฉีดยาต้านการอักเสบและปั่นแยก เกล็ดเลือดแล้วไม่ได้ผล ขั้นตอนสุดท้ายของการรักษา โรคเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ คือการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีเทคนิค

สำหรับสาเหตุของอาการปวดส้นเท้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 มา จากเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือบางท่านอาจเรียกว่า โรครองช้ำ ลักษณะอาการสำคัญของโรคนี้ คือ หลังตื่นนอนตอนเช้าขณะ ลุกเดินก้าวแรกจะมีอาการปวดมาก หลังจากเดินสักพักอาการ จะค่อยๆ ทุเลาลง เนื่องจากขณะนอนตอนกลางคืน จะมีการยึด และหดตัวของเส้นเอ็น ดังนั้นหากลุกเดินช่วงเช้าทันทีจึงมีการดึง กระชากของเส้นเอ็นทำให้มีอาการปวด ซึ่งโรคดังกล่าวมักพบใน ผู้ป่วยช่วงอายุ 40 – 50 ปีส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค นพ.กฤษฎิ์ กล่าวว่า เกิดได้จากหลาย ปัจจัยร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน หรือลักษณะ งานที่มีการเดินมากขึ้น หรือยืนนานขึ้น การมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นรองเท้าที่แข็งเกินไป ซึ่งการรักษาที่ได้ผลดีส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยม ได้แก่ การนวดและยืดเอ็นใต้ฝ่าเท้า การยืดเอ็นร้อยหวาย

นอกจากนั้นต้องมีการปรับลักษณะของรองเท้า โดยรองเท้าที่ เหมาะสม คือ รองเท้าที่มีพื้นหนานุ่มและมีส้นสูงประมาณ 1 นิ้ว

การผ่าตัดที่ใช้กล้องเข้ามาช่วยในการตัดเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ จึงทำให้แผลเล็ก ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบ เปิดแผลโดยทั่วไปและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2298

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (1 )
  • Your Rating