ค้นหาแพทย์

นพ. เปรมเสถียร ศิริธนาพิพัฒน์


Departments

กลุ่มสาขา

ปริญญาบัตร

  • แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วุฒิบัตร

  • สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์, โรงพยาบาลภูมิพลฯ

 

แขนงที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ

  • Arthroplasty
  • Trauma
  • Spine

 

สมาชิก สมาคมทางการแพทย์

  • แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
  • แพทยสภา
  • ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

 


เวลาออกตรวจ





“กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ” เป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตภายใน 1 ปี สูงถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก

สาเหตุของภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุมักเกิดจากการล้มหรืออุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่เมื่อประกอบกับภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกเสื่อมในผู้สูงอายุ จะทำให้กระดูกหัก ร้าว หรือแตกโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น หากผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหรือล้ม ควรรีบพบแพทย์เพื่อเอกซเรย์และตรวจวินิจฉัยทันที แม้จะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยก็ตาม


ปัจจัยเสี่ยงของภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

ภาวะสะโพกหักในผู้สูงอายุแม้ว่าจะเกิดขึ้นหลังจากล้มหรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย แต่อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้กระดูกหักง่ายก็คือภาวะกระดูกพรุน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

  • อายุ 50 ปีขึ้นไป 
  • ดื่มเหล้า สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน 
  • มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อภาวะกระดูกพรุน 
  • ขาดสารอาหาร หรือขาดการออกกำลังกาย

อาการที่บ่งชี้ว่ากระดูกสะโพกหัก

สำหรับผู้สูงอายุที่ล้มหรือเกิดอุบัติเหตุแม้เพียงเล็กน้อย แล้วมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นอาการของสะโพกหักในผู้สูงอายุได้

  • รู้สึกเจ็บมากจนไม่สามารถขยับตัวหรือลุกขึ้นได้ 
  • ขยับหรือลงน้ำหนักที่ขาไม่ได้ 
  • ปวดสะโพกเมื่อขยับตัว และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
  • ขาผิดรูป หรือขาข้างที่สะโพกหักสั้นกว่าอีกข้าง
  • สะโพกบวมช้ำ หรือปลายเท้าเย็น

ทำไมกระดูกสะโพกหักจึงอันตรายถึงชีวิต

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงทีจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตภายใน 1 ปีสูงมาก ทั้งสาเหตุจากการขยับตัวไม่ได้จนเกิดแผลกดทับ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อที่ปอด

วิธีการรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

วิธีรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจะใช้วิธีการผ่าตัดเท่านั้น เว้นแต่ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคประจำตัว โดยโรงพยาบาลเวชธานีได้นำเทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็กหรือ Minimal Invasive Surgery ที่ลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ เสียเลือดน้อย ช่วยให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว และผู้ป่วยสามารถลุกยืนและลงน้ำหนักได้ตั้งแต่ 6 – 12 ชั่วแรกหลังผ่าตัด

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่อันตราย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว หากสงสัยว่ามีอาการกระดูกสะโพกหัก ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน


สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม ชั้น 1 อาคาร King of Bones โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222 , 2224

May 17, 2019

รักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม ชั้น 1 อาคาร King of Bones โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222 , 2224

September 12, 2018

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ l รพ.เวชธานี ลาดพร้าว 111

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม ชั้น 1 อาคาร King of Bones โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222 , 2224

February 28, 2018

การดูแลและรักษา เมื่อผู้สูงอายุล้ม โดย นพ.เปรมเสถียร ศิริธนาพิพัฒน์