

“กระดูกสะโพกหัก” หนึ่งในอาการบาดเจ็บที่อันตรายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะอาจทำให้ล้มแล้วลุกไม่ได้ เดินไม่ได้ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา หากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกสะโพกหักได้ ได้แก่
- เสริมความแข็งแรงของกระดูก กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย และควรได้รับวิตามินดีจากแสงแดดยามเช้า
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เน้นการเดิน ยืนทรงตัว หรือโยคะ เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและลดโอกาสการหกล้ม
- ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง ควรตรวจ Bone Mass Density (BMD) เพื่อประเมินความเสี่ยงและวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุน ทำให้สามารถวางแผนการรักษาและดูแลสุขภาพต่อไปได้
- จัดบ้านให้ปลอดภัยจากการหกล้ม เช่น ติดราวจับในห้องน้ำ เก็บของไม่ให้เกะกะ ปูพรมกันลื่นในจุดเสี่ยง
- ใส่ใจโรคเรื้อรังและการใช้ยา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือยาบางชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มและกระดูกเปราะ ควรปรึกษาแพทย์เป็นประจำ
สำหรับผู้สูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุลื่นล้ม และสงสัยว่ากระดูกสะโพกหักหรือส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหาย ควรรีบโทรแจ้งโรงพยาบาล เพื่อให้ทีมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกระดูกหักอย่างถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบัน กระดูกสะโพกหัก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร็วที่สุด ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น เป็นผู้ป่วยติดเตียง เกิดแผลกดทับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในกระแสเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
กรอกแบบฟอร์มเพื่อนัดหมายหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://forms.gle/uYPXY3FeURrGzdPKA
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating