บทความสุขภาพ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบไว รักษาได้ทัน

Share:

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากเป็นอันดับ 4 จากโรคมะเร็งทั้งหมด แต่อัตราการเสียชีวิตในหลายปีที่ผ่านมาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีวิธีการตรวจคัดกรองโรคด้วย “การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก”

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากติ่งเนื้อหรือ Polyp ในลำไส้ใหญ่ โดยระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ แต่เมื่อติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่และกลายเป็นมะเร็งแล้วจึงจะเริ่มมีอาการเกิดขึ้น เช่น การขับถ่ายมีเลือดหรือมูกเลือดปน ถ่ายอุจจาระก้อนเล็กลง ท้องผูกสลับท้องเสีย แน่นท้อง ท้องโต หรือคลำเจอก้อนในท้อง ดังนั้น หากกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นประจำ เมื่อมีการตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ได้แก่

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุกๆ 3-5 ปี
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก
  • มีการอึดอัดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
  • มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Life Cancer Center
โทร 02-734-0000 ต่อ 272

  • Readers Rating
  • Rated 4.9 stars
    4.9 / 5 (4 )
  • Your Rating