Customer Voice

สูงอายุแค่ไหนก็ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้

Share:

ผ่าตัดสะโพกหักผู้ป่วยอายุ 94 ปี ลงน้ำหนักได้ทันทีหลังผ่าตัด กายภาพบำบัดต่อ 2 เดือน เดินได้เองไม่ต้องพยุง

คุณสายใจ เมตะนันท์ อายุ 94 ปี เกิดอุบัติเหตุหกล้มในช่วงบ่าย สะโพกขวาผิดรูปและมีอาการปวดรุนแรง ญาติจึงไม่ให้ขยับเขยื้อนเพราะกลัวว่าอาการสะโพกหักจะรุนแรงกว่าเดิม พร้อมกับรีบโทรมาที่โรงพยาบาลเวชธานีเพื่อให้ส่งรถ Ambulance ไปรับ

นายแพทย์ธนรัตน์ เหรียญเจริญ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลเวชธานี เล่าว่า เมื่อผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ได้รีบประเมินอาการทางกายภาพของผู้ป่วยและเอกซเรย์ทันที พบว่ากระดูกสะโพกขวามีรอยหักบริเวณข้อสะโพกและเป็นการหักแบบเคลื่อน ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงและลงน้ำหนักไม่ได้

“ทางทีมแพทย์ได้คุยกับญาตินะครับถึงข้อดีข้อเสียของการรักษาคนไข้ภาวะกระดูกสะโพกหัก สำหรับข้อดีคือ คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด และลดอัตราการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการที่สะโพกหัก เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งอาจส่งผลเสียให้คนไข้เสียชีวิตได้นะครับ แต่เนื่องจากผู้ป่วยอายุ 94 ปีแล้ว ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัดได้ ซึ่งหลังจากที่ได้คุยกับญาติคนไข้แล้ว ญาติตัดสินใจยอมรับความเสี่ยงและเลือกวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งระยะเวลาการผ่าตัดใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นการผ่าตัดเรียบร้อยดี คนไข้สามารถย้ายเข้าห้องพักผู้ป่วยได้นะครับ รู้สึกตัวดีครับ” นายแพทย์ธนรัตน์กล่าว


“เราให้คุณหมอธนรัตน์ผ่าตัดคืนนั้นเลย กังวลช่วงก่อนผ่าตัดมากกว่าเพราะคุณหมอชี้แจงแล้วก็บอกเงื่อนไขต่าง ๆ เรากังวลนิดนึงคือเรื่องอายุเยอะ ตอนผ่าตัดเสร็จเขาก็ไปส่งให้ที่ห้อง ICU ทางโรงพยาบาลโทรแจ้งตอนประมาณ 10 โมง ว่าคนไข้เริ่มรู้สึกตัวแล้ว ช่วงบ่ายทางคุณหมอมาตรวจแล้วบอกว่าอาการไม่มีอะไรน่ากังวลให้ย้ายมาที่วอร์ดได้ ตอนแรก ๆ มีเจ็บมากค่ะ แกก็บ่นปวดบ่นอะไรเราก็แจ้งทางคุณหมอก็ให้ยา คุณหมอบอกว่าโอเคถือว่าเป็นไปตามสเต็ป” ญาติคุณสายใจกล่าว


ด้านนายแพทย์ธนรัตน์เล่าต่อว่า หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ำหนักข้างขวาได้ทันที สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ พร้อมกับให้ผู้ป่วยกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพราะในผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวผิดปกติอยู่เดิมหรือผู้สูงอายุที่การเดินไม่คล่องแคล่ว การกายภาพบำบัดจะช่วยป้องกันและช่วยลดอัตราการเกิดกระดูกหักซ้ำได้

ในขณะที่ญาติคุณสายใจให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลังผ่าตัดมาแล้ว 2 เดือน คุณสายใจสามารถใช้วอร์คเกอร์แล้วก็เดินเองได้แล้ว แม้ในช่วงแรกจะต้องช่วยพยุง พร้อมกับบอกว่าแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนของโรงพยาบาลเวชธานีให้การดูแลเอาใจใส่ดีมาก รู้สึกประทับใจและมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ นายแพทย์ธนรัตน์ได้ย้ำว่า หากมีผู้สูงอายุใกล้ตัว พลัดตกหกล้มและสงสัยกระดูกสะโพกหัก ไม่ควรเคลื่อนย้ายเองแต่ให้โทรหาโรงพยาบาลเพื่อส่งผู้เชี่ยวชาญในการเคลื่อนย้ายไปรับผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหรือกระดูกหักเพิ่ม ซึ่งภาวะกระดูกสะโพกหักควรได้รับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสนอนติดเตียงและเสียชีวิต

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม ชั้น 1 อาคาร King of Bones
โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222 , 2224

  • Readers Rating
  • Rated 4.9 stars
    4.9 / 5 (5 )
  • Your Rating