บทความสุขภาพ

4 กลุ่มที่เสี่ยงเป็นนิ้วล็อกมากที่สุด

Share:

เมื่อพูดถึงนิ้วล็อก ก็รู้สึกปวดนิ้วขึ้นมาทันที หลายคนน่าจะรู้ว่าโรคนิ้วล็อกมาจากพฤติกรรมการใช้มือแบบไม่พัก หรือกิจกรรมที่ต้องเกร็งมือบ่อย ๆซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มพฤติกรรมที่พบว่าเป็นนิ้วล็อกมากที่สุด ดังนี้

  1. กลุ่มที่ทำงานบ้าน เป็นกิจวัตรประจำ เพราะเวลาทำงานบ้าน ไม่ว่าจะปัดกวาดเช็ดถู ซักผ้า บิดผ้า จะต้องกำมือ เกร็ง บ่อย ๆ ซ้ำ หรือแม้กระทั่งการออกไปจับจ่ายใช้สอยยกของหนัก
  2. กลุ่มคนที่ชอบปลูกต้นไม้ เมื่อดูแลสวนที่บ้าน ก็จะต้องใช้กรรไกรตัดตกแต่งกิ่งไม้ การใช้จอบขุดดิน การยกกระถางต้น และบีบอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้บางประเภท
  3. กลุ่มคนทำงานนักเขียน เพราะต้องจับปากกา ดินสอบเขียนนาน ๆ และการใช้ปากกา ดินสอกด ที่มีลักษณะแท่งเรียวเล็ก ทำให้มือต้องเกร็งจับนาน ๆ  ก็ทำให้เป็นนิ้วล็อกได้
  4. กลุ่มคนใช้มือถือ เมื่อใช้แรงกดเป็นเวลานาน ๆ หรือใช้มือถือ แท็บเล็ตมากไป ก็อาจทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้นและเกิดอาการนิ้วล็อกนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยกตัวอย่างขึ้นมา นิ้วล็อก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะชาย หรือหญิง อายุเท่าไหร่ก็ตาม ก็มีโอกาสเสี่ยงได้หมด

ดังนั้น หากคิดว่าเป็นนิ้วล็อกในระยะแรกๆ หรือเริ่มมีอาการเจ็บฝ่ามือ เวลาเคลื่อนไหวนิ้วจะมีความรู้สึกสะดุด แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม หรือบางคนเป็นนิ้วล็อกแล้ว ปัจจุบันมีวิธีการรักษาด้วยวิธี “สะกิดนิ้วล็อก” โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ โดยฉีดยาชาที่มือแล้วสอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการ นิ้วล็อก จากนั้น ใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (3 )
  • Your Rating