บทความสุขภาพ

ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน

Share:

ปวดหัวไมเกรน (Migraine headache) คืออาการปวดหัวลักษณะตุ๊บๆ ซึ่งตำแหน่งที่ปวด อาจจะปวดข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง โดยในช่วงแรกจะปวดเพียงเล็กน้อยและจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้น ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่มร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนแรง หรือชา โดยอาการปวดหัวไมเกรนนั้น สาเหตุหลักสัมพันธ์กับการที่มีสารตั้งต้น CGRP ที่ก่อให้เกิดอาการปวดหัว มากเกินไปในสมอง

ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยไมเกรนสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่ามีปัจจัยอะไรที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว (Trigger Factors) บ้าง

ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยกระตุ้นไมเกรนได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. อาหารและเครื่องดื่ม

  • เครื่องดื่มกาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • อาหารที่มีส่วนผสมของยีสต์และสารกันบูด
  • ผงชูรส
  • สารไทรามีนและฮีสตามีน เช่น อาหารหมักดอง เนื้อสัตว์แปรรูป กล้วย ส้ม มะนาว เนยแข็ง ชีส
  • ถั่วต่าง ๆ
  • ช็อกโกแลต

 2. สิ่งแวดล้อม

  • อากาศเปลี่ยน
  • แสงที่จ้าเกินไป
  • กลิ่น
  • มลพิษในอากาศ
  • การเปลี่ยนแปลงของ Time zone
  • มลพิษทางเสียง

 3. การใช้ชีวิต

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่เป็นเวลา หรือนอนมากเกินไป
  • กินอาการไม่ตรงเวลา หรืออดอาหาร
  • เครียด ซึมเศร้า

การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนในเบื้องต้นคือการรับประทานยาและนอนหลับพักผ่อน แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือปวดหัวถี่ขึ้น เช่น จากเดิมเดือนละ 1 ครั้ง เพิ่มเป็น 2 – 3 ครั้งต่อเดือน หรือเป็นมากขึ้นจนรบกวนชีวิตประจำวันก็ควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ โดยในปัจจุบันมียารักษาทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดสำหรับป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของอาการปวดและความถี่ในการปวดหัวได้ประมาณร้อยละ 50 – 75

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 5400

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (4 )
  • Your Rating