บทความสุขภาพ

ปรับพฤติกรรม ห่างไกลนิ้วล็อค

Share:

นิ้วล็อคมักพบได้บ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงคือพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ใช้มือทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การถือหรือแบกของหนักเป็นเวลานาน ใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกดต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงนิ้วล็อค หรือระวังตัวง่าย ๆ ได้ดังนี้

  • พักมือเป็นระยะ ๆ หากต้องทำงานนานต่อเนื่อง
  • ไม่ใช้มือหิ้วของที่หนักเกินไป หากจำเป็นควรใส่ถุงมือ และหิ้วโดยคล้องแขน หรือใช้รถเข็นแทน
  • ลดการแชทบนมือถือ
  • หากมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่น พร้อมขยับกำแบในน้ำ ช้าๆ เบาๆ

หากสามารถปรับพฤติกรรมทำตามนี้ได้จะช่วยลดเสี่ยงโอกาสเกิดนิ้วล็อค อย่างไรก็ตามนิ้วล็อคไม่ใช่โรคร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งปัจจุบันมีวิธีรักษาด้วยวิธีสะกิด โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ โดยฉีดยาชาที่มือแล้วสอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการ นิ้วล็อค จากนั้น #ใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
🏥 ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
📞 โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (3 )
  • Your Rating