บทความสุขภาพ

3 ระดับอาการข้อเท้าแพลง ข้อเท้าเคล็ด และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Share:

ใครที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา ออกกำลังกายหรือชอบใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน ๆ อาจเคยประสบอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าเคล็ดได้ แม้จะเหมือนกับเป็นอาการทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานก็อาจเกิดอาการข้อเท้าหลวม ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาการข้อเท้าแพลงสามารถแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

3 ระดับความรุนแรงของอาการข้อเท้าแพลง

  1. ข้อเท้าแพลงแบบไม่รุนแรง มีอาการปวดบวมเล็กน้อย
  2. ข้อเท้าแพลงระดับปานกลาง เอ็นขัอเท้าฉีกบางส่วน มีอาการปวดบวมเฉพาะที่และอาจมีเลือดคั่ง
  3. ข้อเท้าแพลงแบบรุนแรง เอ็นข้อเท้าฉีกทั้งหมด เดินลงน้ำหนักไม่ได้ ปวดบวมมากและมีเลือดคั่ง

หากเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าเคล็ด ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะถ้าปล่อยไว้อาจกลายเป็นโรคข้อเท้าหลวมที่ทำให้หกล้มหรือข้อเท้าพลิกบ่อยกว่าเดิม หากข้อเท้าพลิกบ่อยครั้ง ก็จะตามมาด้วยโรคข้อเท่าเสื่อมที่อาจนำไปสู่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท้าเทียมได้ในอนาคต

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าเคล็ด

  • ให้ผู้ป่วยลดการเดิน งดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด
  • ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
  • พันผ้ารอบข้อเท้าเพื่อลดอาการอักเสบและลดการเคลื่อนไหว
  • หากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนให้ยกเท้าขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ และหากผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งให้ยกเท้าขึ้นสูงกว่าระดับสะโพก เพื่อไม่ให้เลือดคั่งบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
  • รีบพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

ข้อสังเกตอาการ ‘’ข้อเท้าหลวม’’

  •   ดินแล้วรู้สึกข้อเท้าไม่มั่นคง รู้สึกข้อเท้าจะพลิกง่าย
  • มีประวัติข้อเท้าพลิกบ่อยๆ ซ้ำๆ
  •  หากมีข้อเท้าหลวมนานๆ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนข้อเท้าร่วมด้วย ทำให้มีอาการปวด บวมในข้อเท้าอยู่ตลอด
  • หากข้อเท้าหลวมนานๆ อาจส่งผลให้เกิดข้อเท้าเอียงผิดรูป รวมทั้งข้อเท้าเสื่อมได้ในอนาคต

ข้อเท้าหลวมรักษาอย่างไร

อาการข้อเท้าหลวมที่ไม่รุนแรง แพทย์จะรักษาด้วยการฝึกบริหารข้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเอ็นบริเวณรอบข้อเท้า โดยฝึกควบคุมการทรงตัวของข้อเท้าและการใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ที่รัดข้อเท้าแบบมีแกนด้านข้าง แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นใน 3 – 6 เดือน อาจพิจารณารักษาด้วยMRI และการด้วยการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเล็กเพื่อเย็บซ่อมเส้นเอ็น ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะมีแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวไว หลังจากนั้นจึงฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บด้วยการกายภาพบำบัด สามารถกลับไปใช้งานรวมถึงออกกำลังกายได้ตามปกติ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298, 2299

  • Readers Rating
  • Rated 3.9 stars
    3.9 / 5 (6 )
  • Your Rating