บทความสุขภาพ

โรคเก๊าท์

Share:

คืออาการของโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวกพิวรีน ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด ร่วมกับอาการจากการตกตะกินของสารยูริคในข้อที่ไตและใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการปวดข้อที่มีการอักเสบ

สารยูริค คือสารที่ได้จากการย่อยสลายของการที่มีพิวรีนเป็นส่วนประกอบ จากการรับประทานอาหารและร่างกายผลิตขึ้นเอง ตรวจได้โดยการเจาะเลือดหรือตรวจพบผลึกยูริคในน้ำจากข้อที่อักเสบ

อาการของโรค มีอาการปวด บวม แดง และร้อนตามข้ออย่างเฉียบพลันอาจรุนแรงถึงกับเดินลงน้ำหนักหรือใช้งานข้อไม่ได้ อาการนี้อาจเป็นๆหายๆ อาจทิ้งระยะ เป็นสัปดาห์ เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดอาจเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ที่พบบ่อย ได้แก่ ข้อโคนนิ้ว หัวแม่เท้า หรือข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้ว อาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุโรคเก๊าท์ อาจพบว่าเป็นจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ถ่ายทอดจากทางกรรมพันธุ์ซึ่งจะพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์ได้ อายุมักเริ่มเป็นในเลยวัยกลางคนประมาณ 40-50 ปี ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง ผู้หญิงอาจจะพบในวัยหลังหมดประจำเดือน คนที่รับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนมาก ความอ้วน และน้ำหนักตัวมากทำให้มีโอกาสเป็นเก๊าท์มากขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์และรับประทานยาบางชนิดจะลดการขับยูริคทำให้เป็นเก๊าท์

การตรวจวินิจฉัย ว่าเป็นโรคเก๊าท์ได้จาก อาการปวดข้ออย่างเฉียบพลันร่วมกับการเจาะเลือดเพื่อหาระดับยูริคในเลือด เจาะน้ำจากการอักเสบในข้อที่บวมตรวจพบผลึกยูริค ถ่ายภาพเอกซ์เรย์บริเวณข้อที่มีอาการอาจพบการทำลายของกระดูกและกระดูกอ่อนผิวข้อ อาจคลำได้ว่ามีปุ่มของผลึกยูริค (โทฟัส) ใต้ผิวหนัง ตรวจปัสสาวะอาจพบว่ามีการขับยูริคออกทางไตได้น้อย

แนวทางการรักษา หลักการรักษาโรคเก๊าท์ คือ การลดระดับกรดยูริคในร่างกายและป้องกันการกำเริบของการอักเสบในข้อ

การรักษาทั่วไป ได้แก่ งดการดื่มสุรา เลี่ยงการนอนดึกหรือภาวะเครียด ในรายที่อ้วนควรลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ดื่มน้ำมากๆให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มการขับยูริคจากร่างกายและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อแดง ยอดผักหรือต้นอ่อนพืช

ระยะที่มีข้ออักเสบ ควรลดการใช้งานหรือลงน้ำหนักข้อที่มีอาการ ใช้ความร้อนประคบ หรือแช่บริเวณที่มีการอักเสบ หลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรงหรือบีบรัดแน่น รับประทานยาต้านอักเสบหรือยาโคล์ชิซีน(colchicines) ตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีส่วนผสมแอสไพรินหรือสเตียรอยด์เองเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง

การป้องกันข้ออักเสบซ้ำ โดยรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอลดเหตุปัจจัยที่คิดว่ากระตุ้นทำให้เป็นซ้ำ รับประทานอาหารตามคำแนะนำ

กรณีมีปุ่มโทฟัส (ผลึกยูริคที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง) ตามร่างกายควรรับประทานยาลดการสร้างหรือเพิ่มการขับสารยูริคให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง

อาหารที่มีพิวรีนสูง ควรงด
(มากกว่า 150mg/100g)
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ควรหลีกเลี่ยง
(50-150mg/100g)
อาหารที่มีพิวรีนน้อย ไม่ต้องจำกัด
(0-15mg/100g)
ตับอ่อน, มันสมองวัว เนื้อหมู, เนื้อวัว, เนื้อไก่, เนื้อแกะ นมสด, ผลิตภัณฑ์จากนม
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ปลากระพงแดง ไข่ทุกชนิด
ไข่ปลา ปลาหมึก, ปลาไหล ธัญพืชต่างๆ
ปลาไส้ตัน, ปลาอินทรีย์, ปลาดุก ปู ผักทั่วไป
ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ใบขี้เหล็ก น้ำตาลและขนมหวาน
กุ้งชีแฮ สะตอ เจลาติน
หอย ข้าวโอ๊ต ข้าว
ถั่วดำ, เขียว, แดง, เหลือง ผักขม, ดอกกะหล่ำ ขนมปังไม่เกิน 2 แผ่น/มื้อ
น้ำสลัดเนื้อ เมล็ดถั่วลันเตา เนยเหลว, เนยแข็ง
ซุปก้อน หน่อไม้ ผลไม้เปลือกแข็ง
แตงกวา, ชะอม, สะเดา, กระถิน เห็ด ผลไม้ทั่วไป

โรคเก๊าท์

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (4 )
  • Your Rating