บทความสุขภาพ

โรคหลอดเลือด คาโรติดตีบตัน

Share:

หลอดเลือดคาโรติด (CarotidArtery) เป็นหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ แตกแขนงเป็น 2 หลอด โดยหลอดเลือดแดง หลักของคอด้านใน (Internal Carotid Artery) ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมอง โดยตรง ขณะที่หลอดเลือดแดงที่คอส่วนนอก (External Carotid Artery) จะนำเลือดไปเลี้ยงโครงสร้างใบหน้า

อาการและสัญญาณเตือน

โรคหลอดเลือดสมองคาโรติดตีบตัน มักเกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง หรือมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะหรือ โรคอัมพฤกษ์ (TIA : Transient Ischemic Attach) อาการแสดงที่พบบ่อย คือ อาการชาครึ่งซีก หน้าเบี้ยวการทรงตัวไม่ดี แขนขาอ่อนแรง ตาพร่ามัว หรืออาจมองไม่เห็นหนึ่งข้าง แต่อาการอัมพฤกษ์ ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แต่หากเกินกว่านั้นแล้ว อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร

การตรวจและวินิจฉัยโรค

โดยส่วนใหญ่แล้ว การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของระบบประสาท เบ้อื งต้นจะแนะนำการตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดสมอง การเอ็กซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRA หรือ CTA แต่การเอ็กซ์เรย์ด้วยวิธีดังกล่าว ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย หรือไตล้มเหลว นอกจากนี้ ยังมีการสวนสายเข้าหลอดเลือดเลี้ยงสมองและฉีดสี เพื่อสังเกตว่าเส้นเลือดสมองตีบตันหรือไม่ แต่วิธีการดังกล่าว มีความเสี่ยงราว 0.5-1.0% ต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเลือดออกในช่องท้อง

การรักษา

โรคหลอดเลือดสมองคาโรติดตีบตันสามารถรักษาได้ด้วยยา อาทิ ยาต้านเกล็ดเลือด เพื่อลดการอุดตันของหลอดเลือด นอกจากนี้ ยังควรควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ควบคู่ด้วย เช่น งดสูบบุหรี่และควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

หากเผชิญกับภาวะเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด ด้วยการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง (Carotid Endarterectomy) เพื่อนำคราบไขมันอุดตันออกจากผนังหลอดเลือด ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดค้ำยัน (Balloon Angioplasty and Stent Placement)

สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคาโรติดตีบตันแต่ไม่แสดงอาการแนวทางการรักษาอาจไม่แน่ชัด แต่ทั้งนี้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว จะเพิ่มขึ้นราว 1% ต่อปี อย่างไรก็ดี การศึกษาในผู้ที่ไม่เคยประสบภาวะสมองขาดเลือดพบว่า การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง สามารถลดการเกิดภาวะสมองขาดเลือด และลดอัตราการเสียชีวิต ได้มากถึง 50%

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดคาโรติดตีบตัน ทั้งมีอาการแสดงชัดเจน หรือไม่มีอาการบ่งชี้ใด ๆ ควรเข้ามาพบและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาท เพื่อวินิจฉัย ฟื้นฟูอาการ และรักษาโรคอย่างทันท่วงทีโดยสามารถติดต่อ ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานีเพื่อเข้ารับการตรวจประเมินอาการและรับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

  • Readers Rating
  • Rated 3.8 stars
    3.8 / 5 (3 )
  • Your Rating