ค้นหาแพทย์

พญ. อำไพวรรณ รุ่งบรรณพันธุ์


Departments

กลุ่มสาขา

Qualifications/Education

2000

  • Doctor of Medicine (M.D.), Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Thailand

Board Certifications

2009

  • Board of Nephrology Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Thailand

2006

  • Board of Internal Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Thailand

Conditions Treated (Disease)

  • Kidney transplantation
  • Acute kidney failure
  • Chronic kidney failure
  • Glomerular diseases
  • Electrolyte disturbances

Procedure Performed

  • Hemodialysis
  • Kidney transplantation
  • Kidney biopsy

Awards and Honors

  • Head of Internal Medicine Department, Vejthani Hospital

Professional Membership

  • The Royal College of Physicians of Thailand
  • The Nephrology Society of Thailand
  • Thai Transplantation Society

เวลาออกตรวจ




ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอปลูกถ่ายไตกว่า 6,000 คน โดยเฉลี่ยหนึ่งคนจะรอประมาณ 4-5 ปี ซึ่งโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายคือ ภาวะที่ไตทำงานน้อยกว่า 15% จะมีอาการปัสสาวะผิดปกติ มีฟองมากขึ้น ปัสสาวะกลางคืนบ่อย สีขุ่น มีเลือดปน ตาบวมหน้าบวมหลังตื่นนอน ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หน้าซีด ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

แนวทางการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

  1. ล้างไตทางช่องท้อง  
  2. ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  
  3. ปลูกถ่ายไต  

โรงพยาบาลเวชธานีมีอายุรแพทย์โรคไตที่จะเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย ถ้าผู้ป่วยเหมาะสมกับการฟอกไตก็จะแนะนำการฟอกไตต่อเนื่อง ส่วนผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการปลูกถ่ายไต ก็จะมีการแนะนำขั้นตอน เตรียมความพร้อมการผ่าตัดด้วยทีมสหวิชาชีพ หลังผ่าตัดจะมีห้องปลอดเชื้อในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการติดตามผู้ป่วยต่อเนื่อง จนกว่าผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรง

การผ่าตัดเปลี่ยนไต

วิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ดีที่สุดคือ การปลูกถ่ายไต ที่สามารถทำให้ไตกลับมาทำงานปกติใกล้เคียงกับของเดิม ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อายุยืน และไม่ต้องกลับมาฟอกไตอีกตลอดชีวิต 

การรับบริจาคไตเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนไตมี 2 วิธี คือ การบริจาคจากญาติพี่น้อง สามีภรรยา ที่ยังมีชีวิต มีโอกาสสำเร็จเกิน 95 % หรือไปลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลที่เป็นสมาชิกของสภากาชาดไทย เพื่อรอรับบริจาคไตจากผู้บริจาคสมองตาย

การดูแลตัวเองหลังเปลี่ยนไต

แม้ว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องฟอกไตอีกต่อไปแล้ว แต่ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตสำเร็จก็ยังมีความจำเป็นต้องมาพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง และดูแลตัวอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านไตไปตลอดชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย 

ด้วยเหตุนี้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเคร่งครัด ลดการอยู่ในที่ชุมชนที่แออัด เสี่ยงต่อโรค หรืออยู่ในที่ที่สิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ควรล้างมือบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

ไม่แนะนำให้คลุกคลีกับสัตว์ แต่หากว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้รักษาความสะอาดภายในบ้านให้ดีเยี่ยม เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 


การผ่าตัดเปลี่ยนไต เป็นแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และมีความซับซ้อนสูง ต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ รวมถึงมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หากผู้ป่วยต้องการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไต สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลเวชธานี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์ไตเทียม ชั้น 4 โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000 ต่อ 5021

October 30, 2023

ผ่าตัดเปลี่ยนไต ความหวังของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

0 Patient Satisfaction Review

There are no reviews yet. Be the first one to write one.