เนื่องด้วยสภาวะปัจจุบันที่มีปัญหามลภาวะ ฝุ่น PM 2.5 มีการตรวจวัดปริมาณฝุ่นในอาการทำให้มีการตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาสภาพแวดล้อมกันมากขึ้น รวมไปถึงเกิดคำถามมากมายว่า ฝุ่น PM 2.5 นี้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งปอด หรือไม่รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของโรคชนิดนี้ ซึ่งวันนี้หมอจะมาพูดถึงปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่รู้เร็วมีโอกาสรักษาหายขาดได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด คือ
- การสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่
การสูบบุหรี่ถือเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการเกิดโรคมะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่นๆด้วน เช่น มะเร็งหู คอ จมูก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นต้นจากการที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก จึงมีคำแนะนำให้คนที่สูบบุหรี่ ที่อายุตั้งแต่ 55 ปี สูบวันละประมาณ 1 ซอง มานานกว่า 30 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอดโดยใช้การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำซึ่งจะมีความละเอียดมากกว่าเอกซเรย์ธรรมดา
- การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง
เช่น โครเมียม แร่ใยหิน แร่เรดอน นิกเกิล เรดอน เป็นต้น
- ประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด
ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งปอด จะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตรงเหมือนมะเร็งบางชนิด มีการศึกษาหลายการศึกษาว่าหากมีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อยๆ สมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
- ประวัติโรคปอดเรื้อรังเดิม
เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพองเรื้อรัง และภาวะผังผืดที่ปอด พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดสูงขึ้น
- สภาวะแวดล้อม ฝุ่นละอองพิษ
มีการศึกษาหลายการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM 2.5มีความสัมพันธ์และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะมะเร็งปอด แต่ยังไม่ทราบว่า ขนาดและปริมาณการได้รับที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดนั้นอยู่ในปริมาณที่เท่าไหร่
พอเราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นของมะเร็งปอดแล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้ง่ายๆเพื่อลดความเสี่ยงก็คือ การเลิกบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสภาวะแวดล้อม อากาศมลพิษ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไป
- Readers Rating
- Rated 4.9 stars
4.9 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating