“ อาการปวดหัว ” ที่เกิดจากความเครียด ไมเกรนเรื้อรัง และอื่นๆ ยังถือเป็นอาการที่ไม่น่าเป็นห่วงขนาดถึงขั้นอันตรายเสียชีวิต แต่สำหรับอาการปวดหัวบางประเภทสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายที่อาจจะนำไปสู่อันตรายจนถึงแก่ชีวิต
จากข้อมูลเชิงวิชาการจากศูนย์สมองและระบบประสาท ทางโรงพยาบาลเวชธานีระบุว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวทั่วไปไม่ถึงขั้นเสียชีวิต จะถูกจำแนกโรคปวดศีรษะจากอาการปวดหัวออกมาด้วยสาเหตุอื่นซ่อนอยู่ โดยเฉพาะจากภายในสมอง เช่นก้อนเนื้องอก เลือดออก และเส้นเลือดผิดปกติ โรคเหล่านี้ถือเป็นอาการปวดหัวรุนแรงและมีแนวโน้มอันตราย ซึ่งประวัติและรายละเอียดของอาการจากผู้ป่วย ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรค รวมถึงการสืบค้นสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุของการปวดศีรษะที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
9 สัญญาณอันตรายจากอาการปวดหัวที่ต้องรีบไปพบแพทย์มีดังต่อไปนี้
- โรคและอาการเจ็บป่วยทางกายอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับอาการปวดหัว เช่น มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด มีประวัติโรคมะเร็ง การติดเชื้อ หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอชไอวี ผู้ที่รับประทานยาบางประเภท เช่น ยาสเตอรอยด์ ยาละลายลิ่มเลือด ยากดภูมิคุ้มกัน ประวัติเหล่านี้ บ่งบอกถึงโรคติดเชื้อ การอักเสบ และการแพร่กระจายของมะเร็ง
- อาการแสดงผิดปกติทางระบบประสาท ได้แก่พฤติกรรม หรือ บุคลิกภาพเปลี่ยนจากเดิม แขนขาอ่อนแรง ขา หรือการรับรู้ประสาทสัมผัสผิดปกติ การมองเห็น หรือการได้ยินผิดปกติ
- อาการปวดหัวที่เริ่มต้นหลังตื่นนอน มักบ่งบอกถึงภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
- อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมักใช้เวลาเป็นเสี้ยววินาที บ่งบอกถึงภาวะวิกฤตของหลอดเลือดสมองตีบและแตก
- อาการปวดศีรษะครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี แม้ว่าโรคปวดศีรษะปฐมภูมิหลาย ๆ ชนิดอาจเริ่มต้นครั้งแรกหลังอายุ 40 – 50 ปี โดยโรคปวดศีรษะปฐมภูมิไม่ใช่อาการปวดหัวที่มีผลจากการรับยา แต่เป็นการปวดหัวจากความเครียด ไมเกรน อาการปวดหัวแบบผสม และปวดหัวแบบชุด ๆ แต่อายุที่มากขึ้นมักสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวได้ ที่พบบ่อย เช่น ก้อนเนื้องอก การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง การอักเสบของหลอดเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี จึงควรได้รับการเอกซเรย์สมองทุกราย ถึงแม้ว่าจะไม่พบความผิดปกติจากการตรวจร่างกายทางระบบประสาท
- ลักษณะการปวดศีรษะต่างจากอาการปวดหัวที่เป็นประจำ โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีช่วงเวลาหายปวด หรือมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น
- อาการปวดศีรษะที่แย่ลงเมื่อไอจามหรือเบ่ง มักสัมพันธ์กับความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นเช่นกัน
- อาการปวดศีรษะที่แย่ลงเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง เช่น ปวดมากขึ้นเมื่อยืน นอน หรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะและคอ อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง หรือกระดูกต้นคอ
- อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นข้างเดียวตลอดเวลา หรือมักปวดในบริเวณด้านหลังของศีรษะ แสดงถึงพยาธิสภาพที่อาจเกิดอยู่บริเวณนั้นของศีรษะ หากเป็นอาการปวดศีรษะทั่วไปมักมีการสลับข้างซ้ายขวาบ้าง แต่มักพบว่าจะปวดข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง
เมื่อมีอาการปวดศีรษะครั้งแรก แม้จะมีหรือไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินว่าเป็นโรคปวดศีรษะชนิดใด
ส่วนผู้ที่มีอาการปวดหัวอยู่แล้ว หรือปวดศีรษะครั้งแรกแล้วมีสัญญาณอันตรายดังกล่าวข้างต้น ให้รีบมาปรึกษาแพทย์ระบบประสาทโดยเร็ว เพื่อสืบค้นสาเหตุที่อาจเป็นอันตรายได้ และเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและตรงกับโรคที่เป็นสาเหตุ การตรวจวินิจฉัยที่สำคัญ ได้แก่การเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ และอื่น ๆ ตามแต่โรคที่แพทย์วินิจฉัย
ถึงแม้ส่วนใหญ่ของโรคปวดศีรษะจะไม่เป็นอันตราย แต่การรักษาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การดำรงชีวิตเป็นปกติสุข การคอยสังเกตสัญญาณอันตรายหรือความผิดปกติจะทำให้การวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีและส่งผลกระทบกับผู้ป่วยน้อยลงได้
เรื่องของอาการปวดหัวจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราควรคอยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะแพทย์จะได้วินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 0-2734-0000 ต่อ 5400, 5444
- Readers Rating
- Rated 3.2 stars
3.2 / 5 (Reviewers) - Good
- Your Rating