บทความสุขภาพ

เช็กหัวใจก่อนวิ่ง จะได้ไม่เสี่ยงเสียชีวิตขณะออกกำลังกาย

Share:

นักวิ่งหรือนักกีฬาอื่น ๆ ที่เกิดจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันและหัวใจวาย ซึ่งร้อยละ 50 ของคนกลุ่มนี้ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่ามีโรคหัวใจซ่อนอยู่ ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคหัวใจจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่อยากออกกำลังกาย โดยเฉพาะการตรวจดูความตีบของหลอดเลือดหัวใจที่มักซ่อนอยู่โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตกะทันหันในขณะออกกำลังกาย

วิธีตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจก่อนออกกำลังกาย มีดังนี้

  1. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test : EST) หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าการวิ่งสายพาน แต่จะไม่สามารถแสดงผลได้หากมีอาการตีบเพียงเล็กน้อยและหัวใจยังสูบฉีดเลือดได้ดี
  2. ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ (coronary CCTA) อาจพิจารณาทำในบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจสูงมาก เช่น คำนวณความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปีของท่านแล้วมากกว่า 10% หรือมีประวัติในครอบครัว หรือมีภาวะไขมันโลหิตสูงจากพันธุกรรม และต้องการออกกำลังกายแบบเข้มข้น

แต่สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่ม ดังนี้

  1. การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คือการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตรวจหาหินปูนที่บริเวณหลอดเลือดแดง หากพบค่าที่สูงกว่า 400 มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะเวลา 2 – 5 ปีข้างหน้า
  2. การสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Angiography : CAG) คือการสอดสายสวนขนาดเล็กผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบไปที่หลอดเลือดหัวใจ แล้วฉีดสารทึบรังสีในหลอดเลือดหัวใจและเอกซเรย์ดูตำแหน่งที่ตีบ โดยแพทย์สามารถรักษาด้วยการบอลลูนขยายหลอดเหลือดหัวใจและใส่ขดลวดค้ำยัน (stent) ได้ทันทีเมื่อพบตำแหน่งที่ตีบ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร.  0-2734 0000 ต่อ 5300

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (2 )
  • Your Rating