Life Cancer Center - Precision Cancer Medicine
Vejthani
Hero image

Precision Cancer Medicine วิเคราะห์เซลล์มะเร็งเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และการรักษาที่ตรงจุด

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในปี 2564 มีมากถึง 139,206 คนต่อปี และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 84,073 คนต่อปี โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งการรักษามะเร็งในปัจจุบันก็มีวิวัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งในเรื่องของเทคโลยีการคัดกรอง การให้ยาเคมีบำบัด ที่สามารถลดผลข้างเคียงและได้รับการรักษาที่เฉพาะเจาะจงกับคนไข้แต่ละบุคคลมากขึ้น

นพ.วิกรม เจนเนติสิน อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า การรักษามะเร็งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการค้นหาสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งของแต่ละบุคคลว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งการค้นหาสามารถทำได้โดยการตรวจเซลล์มะเร็งของคนไข้ ว่าเซลล์ที่ผิดปกติจนทำให้เกิดเป็นมะเร็งเกิดขึ้นจากกลไกใด และยาชนิดใดที่จะสามารถยับยั้งกลไกที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ เราจะได้เลือกใช้ยาให้ถูกต้อง เป็นแบบเฉพาะบุคคลมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเราจะเรียกการรักษาแบบนี้ว่า Precision Cancer Medicine เพราะมะเร็งที่อวัยวะเดียวกัน อาจจะเกิดจากเซลล์มะเร็งที่มีกลไกการเกิดโรคคนละแบบได้

อ่านต่อ

รักษามะเร็ง

Cancer Avatar ทางเลือกการรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลอย่างตรงจุด

โดยปกติการรักษามะเร็งด้วยการให้ยา จำเป็นต้องรอดูการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยมะเร็งสักระยะหนึ่ง หากผลการรักษาไม่เป็นไปตามคาดอาจต้องเปลี่ยนชนิดยา แต่ปัจจุบันมีกระบวนการรักษาที่เรียกว่า Cancer Avatar เพื่อการให้ยาที่ตรงจุดและเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุดตั้งแต่ครั้งแรก

นายแพทย์วิกรม เจนเนติสิน อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า การรักษาโรคมะเร็งตามแนวทาง Precision Cancer Medicine หรือ การรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล จะมีกระบวนการตรวจยีนเพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดขึ้นในเซลล์มะเร็ง เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกกลุ่มยาในการรักษาตามสิ่งที่ตรวจพบ ซึ่งแม้จะเป็นการรักษาแบบจำเพาะ แต่หลังจากให้ยาไปแล้ว ยังคงต้องติดตามการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยระยะหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะได้รับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูเซลล์มะเร็งในร่างกาย หากผลการตอบสนองไม่ดีหรือไม่ตรงตามที่หวังผล อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนชนิดยาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

อ่านต่อ

รักษามะเร็ง

CANCER VACCINE นวัตกรรมใหม่ของการรักษา

มะเร็งถือเป็นโรคที่มีสถิติการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และในแต่ละปีมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดย 90 % ของการเกิดโรคมะเร็งเกิดจากปัจจัยภายนอกและการปฏิบัติตัวให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เช่น อาหารการกิน ความเครียด การติดเชื้อไวรัส การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เป็นต้น ดังนั้น การรักษามะเร็งจึงมีการพัฒนาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นและเกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยน้อยที่สุด

CANCER VACCINE สามารถใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ได้แก่

  • การผ่าตัด
  • การฉายรังสี
  • ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม
  • ฮอร์โมนบำบัด
  • ยามุ่งเป้า
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด

อ่านต่อ

ร่างกายคนเรา สามารถเกิดมะเร็งส่วนไหนได้บ้าง ?

 

มะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย

  • มะเร็งตับ มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเรื้อรัง โรคตับแข็งจากการดื่มแอลกอฮอล์ และโรคไขมันสะสมในตับ
  • มะเร็งปอด ปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากการสูบบุหรี่ พันธุกรรม สัมผัสสารก่อมะเร็งจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างร่วมกันได้แก่ สิ่งแวดล้อม อาหาร และพันธุกรรม
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในต่อมลูกหมากที่ไม่สามารถควบคุมได้

อ่านรายละเอียดมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายเพิ่มเติม

มะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง

  • มะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มีภาวะโรคอ้วน ดื่มแอลกอฮอล์มาก
  • มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดที่ 16 และ 18 ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่ หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มะเร็งรังไข่ สาเหตุจากพันธุกรรม และปัจจัยที่ส่งเสริมได้แก่ สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร
  • มะเร็งมดลูก อาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งมดลูก ได้แก่ สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรเมื่ออายุมาก พันธุกรรม รวมถึงมักพบร่วมกันโรคอ้วน เบาหวานและความดันโลหิตสูง

อ่านรายละเอียดมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงเพิ่มเติม

บทความสุขภาพ

มะเร็งปอด เช็กได้ ก่อนลุกลาม

ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุ 55-75 ปี และสูบบุหรี่มากกว่า 30 มวน/ปี โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดปริมาณรังสีน้อย (Low Dose CT Scan) นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ ยังสามารถตรวจพบความผิดปกติในเบื้องต้น ได้จากการเอกซเรย์ปอด เช่น สามารถตรวจพบจุด หรือ ก้อนในปอดได้ อ่านต่อ…

 

TOP 5 มะเร็งกับการคัดกรองมะเร็ง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและคนรอบข้าง เพราะมะเร็งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดย 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของคนไทย อ่านต่อ…

 

เคมีบำบัดชนิดรับประทาน หนึ่งในมาตรฐานยารักษาโรคมะเร็ง

การวางแผนการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็งและระยะของโรคเป็นสำคัญ ซึ่งวิธีการรักษาแบบมาตรฐาน มีตั้งแต่การผ่าตัด การฉายรังสี รวมถึงการให้ยารักษามะเร็ง เช่น เคมีบำบัด ซึ่งมีทั้งแบบฉีดและแบบรับประทาน เป็นต้น อ่านต่อ…

 

Precision Cancer Medicine วิเคราะห์เซลล์มะเร็งเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และการรักษาที่ตรงจุด

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในปี 2564 มีมากถึง 139,206 คนต่อปี และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 84,073 คนต่อปี โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก อ่านต่อ…

 

“ยามุ่งเป้า” ยับยั้งมะเร็งอย่างตรงจุด

“ยามุ่งเป้า” (Targeted Therapy) คือ ยารักษามะเร็งที่ถูกพัฒนาให้มีความจำเพาะเจาะจงสูง กล่าวคือมีความจำเพาะต่อเซลล์ที่มีตัวรับที่กลายพันธุ์ หรือ ตัวรับที่เป็นกลไกหลักในการทำให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลลัพธ์และการตอบสนองที่ดี อีกทั้งยัง “มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการให้ยาเคมีบำบัด” อีกด้วย อ่านต่อ…

 

มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก โรคยอดฮิตติด 1 ใน 3

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการตรวจพบโรคมะเร็งในเด็กปีละประมาณ 1,000 – 3,000 ราย และพบในทุกช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น โดยโรคที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันหรือลูคีเมีย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 38.1 ของมะเร็งทั้งหมดในเด็ก อ่านต่อ…

 

3 เหตุผลที่คนอายุ 40+ ควรส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของคนไทย ซึ่งหลายคนมักเจอโรคในระยะที่อาการหนักแล้ว เพราะไม่เคยตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ อ่านต่อ…

 

เชื้อแบคทีเรีย H.Pylori ภัยเงียบมะเร็งกระเพาะอาหาร

เชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) คือ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถติดได้จากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งป้องกันค่อนข้างยาก อ่านต่อ…

 

อาการแบบไหน ควรรีบมาตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด เกิดจากการที่เซลล์ในเนื้อปอด มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ จนเติบโตและลุกลามรวมกันเป็นเนื้องอก ทำให้ไปขัดขวางการทำงานของปอด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอดในระยะเริ่มแรก อ่านต่อ…

 

หินปูนในเต้านมชนิดที่เสี่ยงมะเร็งเต้านมมีแบบไหนบ้าง

หินปูนในเต้านม จะพบจากการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น และพบได้ยากจากการคลำเต้านมหรือการตรวจอัลตราซาวนด์ ดังนั้นการตรวจคัดกรองแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปีในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป จึงเป็นสิ่งจำเป็น อ่านต่อ…

 

รู้หรือไม่ ทำงานกับฝุ่น เสี่ยงมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป

โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย และเป็นที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่และยาม้วนต่าง ๆ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปอด โดยผู้สูบบุหรี่อาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 10 เท่า รวมถึงผู้ที่ไม่สูบเองโดยตรง แต่สูดดมจากควันบุหรี่ก็มีความเสี่ยงสูง เพราะในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด อ่านต่อ…

 

รักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการให้ยาเคมีบำบัดแบบ Easy Pump

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถือเป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมด โดยในระยะแรกของโรคมักไม่มีอาการแสดงผิดปกติใด ๆ แต่อาจมีอาการคล้ายโรคอื่น ๆ เช่น อาการท้องอืด จุก แน่นท้อง อ่านต่อ…

 

อ้วนลงพุง เสี่ยงมะเร็งมากกว่าคนทั่วไป

ทราบกันดีว่าโรคอ้วน ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ทั้งเบาหวาน หัวใจ ไขมันในหลอดเลือด แต่รู้ไหมว่ายังเสี่ยงมะเร็งได้มากกว่าคนทั่วไป โดยมีสาเหตุได้หลายสาเหตุ อ่านต่อ…

 

หมดความกังวลเมื่อต้องผ่าตัดมะเร็งเต้านม ด้วย 2 เทคนิคการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง

“ มะเร็งเต้านม ” เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้เมื่อตรวจพบในระยะเริ่มแรก แต่หากมีการตรวจพบในระยะอื่น ๆ ใช่ว่าจะไม่มีทางรักษา เพราะปัจจุบันการผ่าตัดรักษามะเร็งมีหลายแนวทาง ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น อ่านต่อ…

 

“ผู้ป่วยมะเร็ง” รับประทานอะไรได้บ้าง

เชื่อว่าหลายคนสงสัยเกี่ยวกับข้อจำกัดต่างๆว่า คนไข้มะเร็งสามารถรับประทานอะไรได้บ้าง อาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเร็งหรือไม่? อ่านต่อ…

 

แบ่งปันประสบการณ์ การรักษามะเร็ง

มะเร็งเต้านม ตรวจพบเร็ว รักษาหายได้

คุณโสภา อับดิน (ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งเต้านม) ผู้ป่วยตรวจพบมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง 3D Mammogram และตัดสินใจเข้ารับการรักษากับ นพ.ธเนศ เดชศักดิพล (อายุรแพทย์โรคมะเร็ง ประจำโรงพยาบาลเวชธานี) ทันที จากเดิมที่ก้อนมะเร็งมีขนาด 4 – 5 ซม. หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าร่วมกับยาเคมีบำบัด ทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 2 ซม. ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ปัจจุบันผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ “ตรวจก่อน เจอก่อน รักษาง่ายกว่าค่ะ” คุณโสภา อับดิน (ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งเต้านม) รวมทั้งสมองจนเป็นผลทำให้สูญเสียการมองเห็น ตาบอดสนิทในระยะหนึ่ง ปัจจุบันผู้ป่วยมองเห็นเป็นปกติ และใช้ชีวิตค่อนข้างมีคุณภาพ

มะเร็งปอด รักษาได้ ดั่งแสงสว่างที่ปลายทาง

“ยาที่ให้ไป ตอบสนองได้ค่อนข้างดี ตัวก้อนมะเร็ง จากก้อนที่มีความทึบที่ปอดข้างขวาไปเลย ตอนนี้เริ่มมีช่องว่างที่จะให้อากาศหายใจได้ ไม่เหนื่อย สามารถลุกขึ้นมาทำกิจวัตรทั้งของตัวเอง และในบ้านได้ อาการแน่นหน้าอกก็หายไปเลย ก็คิดไม่ผิดค่ะ เพราะว่าคุณยายก็กลับมาใช้ชีวิตได้มีความสุขเหมือนเดิมค่ะ” – คุณทิพสุคนธ์ ดีเผือก (ลูกสาวผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม)

 

ลิ้นเป็นแผล ไม่ใช่แค่ร้อนใน “มะเร็งลิ้น” หายขาดได้ถ้าตรวจเจอเร็ว

“อาการตอนแรกคือเราพบว่ามีรอบขีดบริเวณใต้ลิ้น เหมือนมีดบาด เวลากินอะไรเผ็ด ๆ ก็แสบ ใช้ยาแต้มแล้วก็ไม่หาย หลังจากนั้นก็กลายเป็นแผลร้อนใน ทำให้เราทานอะไรไม่ได้เลยค่ะ เราเลยตัดสินใจเข้ามาหาคุณหมอที่โรงพยาบาลเวชธานี แผนกหูคอจมูกค่ะ คุณหมอก็ขอเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ แล้วกหลังจากนั้น 1 อาทิตย์ผลก็ออก พบว่าเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง คุณหมอก็แนะนำว่าต้องตัดออกอย่างเดียว เราก็ตกใจแบบว่าจะต้องตัดลิ้นเลยหรอ เราก็เลยตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเลยค่ะ หลังจากผ่าตัดได้ 2 อาทิตย์ก็ดีขึ้นค่ะ ตอนนี้แผลก็เริ่มแห้งเต็ม 100% แล้วค่ะ” คุณวิลาวัลย์ กานติมากิติเดช ตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งที่ลิ้นกับทางโรงพยาบาลเวชธานี เพราะมั่นใจและเชื่อมั่นบุคลากรทางการแพทย์ และยังประทับใจในการบริการของบุคลากรของโรงพยาบาลเวชธานีอีกด้วย

มะเร็งปอด หายได้! หากตรวจพบเร็ว

“มาตรวจสุขภาพประจำปี แล้วปรากฎว่าตอน x-ray พบจุดดำที่ปอด คุณหมอก็บอกว่าอาจจะเป็นมะเร็งปอด เราก็ตกใจมาก กลัวว่าจะเป็นเยอะไหม กลัวจะต้องให้คีโม พอดีคุณหมอธเนศ เดชศักดิพล เขาให้กำลังใจเราและพูดดีมาก ๆ เราก็เลยตัดสินใจที่จะผ่าตัดเลย หลังจากการผ่าตัด ผลออกมาว่าเป็นมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ก็ไม่ต้องกินยา ไม่ต้องให้คีโม คุณหมอก็ได้แจ้งว่าตอนนี้ไม่มีเชื้อ ไม่กระจายไปที่อื่นด้วย ไม่รู้สึกเจ็บหลังผ่าตัดเลยค่ะ ประทับใจทุกส่วนในการให้บริการมาก ๆ”

วิดีโอเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็ง

 

#มะเร็งเนื้อเยื่อผิวหนัง แผลฟกช้ำนำไปสู่ มะเร็ง ได้หรือไม่ ?

การเกิดแผลฟกช้ำ จะนำไปสู่โรคมะเร็งได้จริงหรือไม่!? หลายคนก็เริ่มตั้งคำถามสงสัย หากสมมติว่าประสบอุบัติเหตุจนทำให้เกิดแผลฟกช้ำ แต่ไม่ดูแลรักษาแผล…


ปรึกษาแพทย์ได้เลยวันนี้

เราและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา

มาตราฐาน JCI

กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น

กรณีเร่งด่วนกรุณาติดต่อโดยตรงกับทางโรงพยาบาลได้ที่

Hotline 02 734 0000