จี้ไฟฟ้าหัวใจ - โรงพยาบาลเวชธานี
Vejthani
Hero image

“หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายขาดได้ 98% และไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต”

เทคโนโลยีการจี้ด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ (Radio Frequency Ablation)

Electrophysiology Study

2D Electrophysiology Study

การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ

 

เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ หาสาเหตุ รวมถึงตำแหน่งที่ผิดปกติ และจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง แสดงผลเป็นกราฟ 2 มิติ

ข้อดีคือ สามารถทำการรักษาได้ทันทีหลังจากการตรวจวินิจฉัย

3D System

เป็นการหาตำแหน่งจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ

แสดงผลเป็นภาพ 3 มิติ แบบเรียลไทม์ และใช้สายสวนจี้ตรงจุดที่ผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง วิธีนี้สามารถใช้รักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่มีจุดกำเนิดเป็นบริเวณกว้างหรือมีความซับซ้อน เช่น

  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะห้องบน (Atrial Tachycardia)
  • ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)
  • ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (Ventricular Tachycardia)
  • ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วชนิดลัดวงจร (Supraventricular Tachycardia

Health Article – บทความสุขภาพเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

รู้ทันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอะไรบ้าง

โดยปกติแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 50-100 ครั้งต่อนาที หากมีอัตราการเต้นช้าหรือเร็วกว่านี้ก็จะเข้าข่ายภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

arrhythmia treatment

อาการบอกโรค หัวใจเต้นผิดจังหวะ

อันตรายของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นอยู่กับชนิดและระดับความรุนแรง รวมถึงโรคร่วมและปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ทำให้มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตแบบกระทันหัน หัวใจล้มเหลว หน้ามืด หมดสติ หรือเกิดลิ่มเลือดไปอุดสมองได้

5 อาการใจสั่น ถ้าเป็นแล้วอาจผิดปกติ

อาการใจสั่น ใจหวิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อตื่นเต้น เครียด หรือ กังวล หรือดื่มเครื่องดื่ม การทานยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการได้เช่นกัน แต่ก็ไม่ควรวางใจอยู่ดี เพราะถ้าหากเกิดจากปัญหาสุขภาพก็อาจทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

COVID-19 ไวรัสที่นำไปสู่โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

จากการรายงานข้อมูลทั่วโลกพบว่าอัตราการเกิดลองโควิดมีประมาณร้อยละ 40 – 60 ซึ่งอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันลดลงจากภาวะการอักเสบของร่างกายในขณะติดเชื้อโควิด – 19 การแยกรักษาตัวอยู่บ้านหรือนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วย ICU รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาในการรักษาโควิด

ลดปัจจัยเสี่ยงเลี่ยง “หัวใจเต้นผิดจังหวะ”

ภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจป้องกันได้ไม่มาก แต่หากเรารู้สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เราก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

5 สัญญาณบอกโรค หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นแล้วไม่รักษา อาจเป็นอัมพาต ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต จะดีกว่าไหม…หากเราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยตัวเอง

เหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ หน้ามืด หมดสติบ่อย อย่าปล่อยไว้ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้า

หากคุณคิดว่า อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ หน้ามืด หมดสติบ่อย เป็นเพียงอาการทั่วไปเวลาที่เจอแดดจ้า คุณคิดผิด! หลายคนมักมองข้ามอาการเหล่านี้ แต่รู้หรือไม่..อาการเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้า หากตรวจพบช้าหรือปล่อยอาการทิ้งไว้โดยไม่รีบการรักษา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย

หัวใจ กำลังบอกอะไรคุณหรือเปล่า

การเต้นของหัวใจ สามารถเป็นสัญญาณเตือนบอกความเสี่ยงเกี่ยวกับ ‘โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ’ ได้ แต่จะมีอยู่ 6 อาการ ที่เป็นแล้วควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ

ประสบการณ์จากคนไข้ที่เข้ารับการ จี้ไฟฟ้าหัวใจ

 

หัวใจเต้นผิดจังหวะหายทันทีหลัง“จี้ไฟฟ้าหัวใจ”

“อาการเริ่มแรกรักษาไทรอยด์เป็นพิษอยู่  แล้วมันก็พัฒนามาเป็นอาการใจสั่น เป็นช่วง ๆ บางครั้งมันก็ทำให้เราเหนื่อยมาก นอนไม่ได้ เป็นมาหลายเดือน เราก็หาข้อมูลว่ามีโรงพยาบาลไหนที่มีแพทย์ชำนาญในเรื่องนี้ จนมาเจอโรงพยาบาลเวชธานี เลยตัดสินใจเข้ามา หลังจากทำการจี้ไฟฟ้าหัวใจ อาการที่เคยเป็นก็ดีขึ้น ประทับทีมแพทย์และทีมงานโรงพยาบาลเวชธานีมาก ๆ ทำนัด ดูแลดีจนกลับบ้านอย่างดีเลยครับ “

บอกลาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยการ“จี้ไฟฟ้าหัวใจ”

” ยิ้มได้แล้วครับจี้ไฟฟ้าหัวใจ หยุดปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ พักฟื้นโรงพยาบาลเพียง 1 คืนการจี้ไฟฟ้าหัวใจผลตอบรับดีมาก ผมต้องทานยาอีก 3 เดือน เพราะเป็นเคสที่ค่อนข้างยากแล้วก็จะหายครับผมรับรู้ทุกขั้นตอนการทำ ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง จบปัญญาหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คุณหมอปริวัตร เพ็งแก้ว เก่งมาก ๆ ครับ ผมคุยกับคุณหมอจนจบการจี้ ไม่มีหลับเลย การจี้หมอดูจากกราฟหัวใจในจอเท่านั้น ผมนึกว่าจะมีกล้องส่อง ไม่มี ใช้ความชำนาญและประสบการณ์ของคุณหมอโดยแท้จริง “

ใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างมั่นใจ หลังจี้ไฟฟ้าหัวใจกับ นพ.ปริวัตร

” คุณหมอบอกว่ากระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติมานานแล้วควรจะจี้ซะที เลยถามคุณหมอว่าถ้าไม่ทำแล้วจะเป็นยังไง คุณหมอบอกว่าปล่อยอาจเสี่ยงไหลตาย ฉันจึงตัดสินใจรักษา แต่เป็นคนกลัวเข็มมากและวิตกจริตหลายวัน…พอมาทำจริงๆก็ไม่ได้เจ็บมากมาย และหลังจากจี้หัวใจแล้วอาการใจสั่นก็ไม่มีอีกเลยต้องขอขอบคุณ นพ. อัมพล อิทธิฤทธานนท์ที่ดูแลมาตลอด 16 ปี และ นพ. ปริวัตร เพ็งแก้ว รวมทั้งพยาบาลทุกท่านที่ดูแลอย่างดีตอนที่อยู่โรงพยาบาลนะคะ “

 

เจ็บแต่จบในหนึ่งชั่วโมง “จี้ไฟฟ้าหัวใจ” หยุดปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 ” ยิ้มได้แล้วครับ #จี้ไฟฟ้าหัวใจ ขอบคุณทุกกำลังใจครับ การจี้ไฟฟ้าหัวใจผลตอบรับดีมาก ผมต้องทานยาต่ออีกซัก3เดือนเพราะเป็นเคสที่ค่อนข้างยาก แล้วก็จะหายครับ เจ็บแต่จบจริง ๆ หลังจากนี้คงลุยได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลอีกแล้ว พักขา 10 วัน งดใช้ขามาก ๆ แต่คงไปอ่านข่าวได้เร็ว ๆ นี้ครับ ขอบคุณหมอ ปริวัตร เพ็งแก้ว และทีมพยาบาลเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเวชธานีครับ “

ไม่ว่าวัยไหนก็รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยการ “จี้ไฟฟ้าหัวใจ

 “ วันนี้อ้อกับคุณแม่ได้มาทำการ จี้ไฟฟ้าหัวใจ กับ คุณหมอปริวัตร เพ็งแก้ว เนื่องจากเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเร็วหรือSVTที่ #โรงพยาบาลเวชธานี ตอนแรกกลัวๆกล้าๆ แต่พอได้คุยกับคุณหมอแล้วได้เจอพยาบาลและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเวชธานี รู้สึกอุ่นใจและประทับใจมากค่ะ คุณหมอท่านเก่งจริงๆค่ะ ตอนนี้ไม่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้วค่ะ ”

ทีมแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

นพ.ปริวัตร เพ็งแก้ว

  • ประสบการณ์การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มากกว่า 13 ปี
  • รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมาแล้วกว่า 5,000 ราย
  • รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ มากกว่า 400 ราย / ปี

ผศ.นพ. ศราวุธ ลิ้มประเสริฐ

  • ประสบการณ์การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มากกว่า 9 ปี
  • รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมามากกว่า 2,000 ราย
  • รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจมากกว่า 130 ราย/ปี
  • รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่องกระตุ้นหรือเครื่องกระตุกหัวใจมากกว่า 200 ราย/ปี

นพ. ธัชพงศ์ งามอุโฆษ

แขนงที่ฝึกฝนเป็นพิเศษ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
  • Atrial fibrillation
  • การจี้ไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiological study & Radiofrequency ablation)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)

นพ. สนัฐชา อาภาคัพภะกุล

แขนงที่ฝึกฝนเป็นพิเศษ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
  • Atrial fibrillation
  • การจี้ไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiological study & Radiofrequency ablation)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)

แพ็กเกจและโปรแกรม


โปรแกรมตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ

  • Readers Rating
  • Rated 3.4 stars
    3.4 / 5 (32 )
  • Your Rating



ปรึกษาแพทย์ได้เลยวันนี้

ทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษา

มาตรฐาน JCI

กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น

กรณีเร่งด่วนกรุณาติดต่อโดยตรงกับทางโรงพยาบาลได้ที่

Hotline 02 734 0000


  • Readers Rating
  • Rated 3.4 stars
    3.4 / 5 (32 )
  • Your Rating