- Readers Rating
- Rated 4.3 stars
4.3 / 5 (Reviewers) - Outstanding
- Your Rating
มาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป และส่งผลให้มีพฤติกรรมการรับประทานที่เน้นเร็ว ง่าย และสะดวก เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกใหม่, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารที่แปรรูปมาแล้ว เช่น เนื้อแดงและไส้กรอก
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเริ่มมีมะเร็งเกิดขึ้น จะไม่รู้ตัวหรือไม่มีอาการอะไร เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกจะไม่มีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน เมื่อเริ่มมีอาการแสดงของโรค ได้แก่
เมื่อมีการตรวจพบติ่งเนื้อจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์สามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก ก่อนที่ติ่งเนื้อนั้นจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ตรงจุดและปลอดภัยกับร่างกายมากที่สุด นอกจากนี้ด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ ที่เรียกว่า Endoscopic Submucosal Dissection หรือ ESD ทำให้สามารถตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ ที่แม้บางส่วนมีการกลายเป็นมะเร็งแล้ว แต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ออกได้ผ่านทางกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัดหน้าท้อง และในบางรายไม่ต้องยกลำไส้เปิดทางหน้าท้อง (colostomy)โดยไม่จำเป็น แต่ทั้งนี้ หลังจากการผ่าตัดผ่านกล้องแล้วผู้ป่วยควรเข้ารับการส่องกล้องติดตามอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพิ่มเติม คลิก
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ถือว่าเป็นมะเร็งที่พบได้มากทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งความน่ากลัวของมะเร็งลำไส้ใหญ่คือในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ ดังนั้นในกลุ่มเสี่ยงจึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพราะยิ่งพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรก ก็ยิ่งมีทางเลือกในการรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้ฟื้นตัวได้ไวหลังการรักษา
อ่านเพิ่มเติม
การส่องกล้องเพื่อตรวจหาติ่งเนื้อ เปรียบเสมือนการตรวจเช็กร่างกาย โดยไม่ต้องรอให้เกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และควรเลือกตรวจกับแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยที่แม่นยำ พร้อมกันนี้ ควรลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกใหม่, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารที่แปรรูปมาแล้ว เช่น เนื้อแดงและไส้กรอก
อ่านเพิ่มเติม
“เนื้อแดง – เนื้อแปรรูป” ไม่ว่าเมนูไหน ก็เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
ใครจะรู้ว่าอาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน จะแฝงไปด้วยปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะอาหารแปรรูปที่ผ่านการหมัก รมควัน หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เพิ่มรสชาติหรือถนอมอาหาร เช่น เบคอน ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น หมูยอ และกุนเชียง เป็นต้น โดยอาหารเหล่านี้มีสารเคมี ไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการสะสมในร่างกายจะทำปฏิกิริยากับปัจจัยอื่นในร่างกาย เช่นการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร หรือสารอื่นที่ร่างกายได้รับผ่านทางอาหาร ส่งผลให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
อ่านเพิ่มเติม
กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น
Hotline 02 734 0000