- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating
โรค กระดูกพรุน หรือ กระดูกเสื่อม กลายเป็นปัญหาที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น นับเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริงเนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใดๆจนกระทั่งล้มแล้วมีกระดูกหัก จึงรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกเสื่อม
ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนักกระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลงมากกว่า 2 ซม.ต่อปีเนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบาง และยุบตัวลงช้าๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้ม หรือยกของหนักนพ.ประพันธ์ โกมลมาลย์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านการบาดเจ็บของกระดูก กล่าวว่า “ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไปเพียงแค่มีแรงกระแทกเบาๆ จากการบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอ จามสะบัดมือแรงแล้วข้อมือหัก หรือลื่นล้ม ทำให้กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมาและคุณภาพชีวิตที่ด้อยลงอาการที่พบได้คือปวดหลัง ซึ่งเกิดจากกระดูกบางมาเป็นเวลานานอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีกระดูกสันหลังยุบตัวและจะทำให้หลังค่อมและเตี้ยลงได้ นอกจากกระดูกสันหลังแล้ว กระดูกอื่นๆที่ถูกทำลายมาก คือ ข้อมือและสะโพก” อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
กรุณาใส่รายละเอียดทางการแพทย์ และประวัติทางการแพทย์ของท่านให้ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ของเราให้คำปรึกษาได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น
Hotline 02 734 0000