ศูนย์กระดูกและข้อ

อาการเจ็บข้อเท้าและเท้าแบนลง อาจเพราะโรคเท้าแบน
โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet เป็นภาวะที่ผิดปกติบริเวณอุ้งเท้าที่ตรงกลางของเท้าสูญเสียความสูงไป หรือ เรียกว่าแบนติดพื้น เราจะเห็นได้ชัดเมื่อเราเดินลงน้ำหนัก โรคเท้าแบนจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดและนำไปสู่ความผิดรูปของเท้าและนิ้วเท้าตามมาได้

ศูนย์กระดูกและข้อ

PRP ทางเลือกลดปวด ลดอักเสบ ในโรคกระดูกและข้อ
อาการปวดบวมจากโรคกระดูกและข้อเป็นความทรมานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคข้อเสื่อม ข้อไหล่ติด ปวดไหล่เรื้อรัง รองช้ำ โรคข้อเท้าอื่น ๆ กระดูกสะโพกร้าว ข้อเข่าเสื่อม และโรคข้อต่อส่วนอื่นของร่างกาย

ศูนย์กระดูกและข้อ

ปวดฝ่าเท้าเกิดจากอะไร
ปวดฝ่าเท้าด้านหน้า มักเกิดในคนที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ เนื่องจากน้ำหนักตัวจะถ่ายเทไปที่ฝ่าเท้าด้านหน้า บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่นิ้วเท้าและข้อเท้า อีกทั้งยังทำให้ใต้ฝ่าเท้าหรือใต้นิ้วเท้าเกิดหนังด้านด้วย

ศูนย์กระดูกและข้อ

พฤติกรรมที่ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการปวดกระดูกหลังส้นเท้าที่สร้างความทรมานให้ใครหลายต่อหลายคน ส่วนมากเกิดในกลุ่มคนอายุเยอะจากความเสื่อมตามวัย พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเกาต์ เรื้อนกวาง

ศูนย์กระดูกและข้อ

5 วิธีเช็กเท้าแบนโดยแพทย์เฉพาะทาง
การเช็กว่าตัวเองเท้าแบนไหม เบื้องต้นผู้ป่วยสามารถเช็กได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง โดยการยืนลงน้ำหนักแล้วเทียบความสูงอุ้งเท้าด้านใน ระหว่างตอนยืนกับตอนนั่ง หากไม่ปรากฏส่วนโค้งเว้าขณะยืน แสดงว่ามีแนวโน้มเกิดภาวะเท้าแบน

ศูนย์กระดูกและข้อ

3 สาเหตุเดินแล้วปวดเท้า
เวลาเดินแล้วรู้สึกปวดข้อเท้า หรือ ปวดเท้า สงสัยกันไหม ว่าทำไมถึงปวด และมันเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายแรงที่เกี่ยวกับเท้าของเราหรือเปล่า ?? เวลาเดินแล้วปวดข้อเท้าหรือปวดเท้า อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้

ศูนย์กระดูกและข้อ

ทำกิจกรรมเหล่านี้แล้วมีอาการเจ็บไหล่ ระวังเป็นข้อไหล่ติด
อาการของโรคข้อไหล่ติดจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาในการดำเนินโรค โดยผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการของโรคข้อไหล่ติดได้จากการใช้งานแขนในลักษณะดังต่อไปนี้

ศูนย์กระดูกและข้อ

อาการแบบไหน…ข้อเท้าหลวม
อาการแบบไหน…ข้อเท้าหลวม ปวดข้อเท้าเป็นประจำ ข้อเท้าบวมง่าย เสียการทรงตัวง่ายเมื่อต้องเดินแบบเร่งรีบหรือเดินบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ ข้อเท้าพลิกบ่อยเมื่อต้องวิ่ง เล่นกีฬาที่ต้องเปลี่ยนทิศทางแบบกะทันหัน หรือแม้แต่การเดินบนพื้นต่างระดับ หากข้อเท้าพลิกบ่อยหรือข้อเท้าหลวม ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงกว่าเดิม โดยแพทย์จะให้เริ่มทำกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นรอบข้อเท้าและฝึกการทรงตัวของข้อเท้า พร้อมกับใช้อุปกรณ์เสริมพยุงข้อเท้า แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นใน 3 – 6 เดือน แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็น เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานข้อเท้าได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298

ศูนย์กระดูกและข้อ

6 ข้อ บอกโรค “ข้อไหล่ติด”
ยกแขน 2 ข้างได้ไม่เท่ากัน และแขนไม่สามารถแตะหูได้ ยกแขนสวมเสื้อผ้าไม่ได้ ติดตะขอชุดชั้นในจากด้านหลังไม่ได้ เอี้ยวตัวหยิบของด้านหลังไม่ได้ ผลักประตูหนัก ๆ ไม่ได้ ปวดไหล่เรื้อรัง หรือปวดรุนแรงในช่วงกลางคืน
18108