เป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงนิ้วล็อก ได้ถึง 4 เท่า !
“นิ้วล็อก” โรคที่เกิดจากการใช้งานนิ้วมือหนักๆ ไม่พักบ้าง หรือเกิดจากการกำ เกร็งมือบ่อย ๆ มักพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิง ที่ทำกิจกรรมหยิบจับสิ่งของอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะบิดผ้าด้วยมือ หิ้วของหนัก แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดจากพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว “เพราะพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานสามาถเป็นนิ้วล็อกมากถึง 4 เท่า แถมร้อยละ 4 นั้นเป็นมากกว่าหนึ่งนิ้ว!” นอกจากคนที่เป็นโรคเบาหวานแล้วยังพบในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคไต โรคของต่อมไทรอยด์ และโรคในกลุ่มรูมาตอย อาจจะทำให้เป็นนิ้วล็อก เพราะเกิดจากโรคประจำตัวได้เช่นกัน ดังนั้น หากคิดว่าเป็นนิ้วล็อกในระยะแรกๆ หรือเริ่มมีอาการเจ็บฝ่ามือ เวลาเคลื่อนไหวนิ้วจะมีความรู้สึกสะดุด แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม หรือบางคนเป็นนิ้วล็อกแล้ว ปัจจุบันมีวิธีการรักษาด้วยวิธี “สะกิดนิ้วล็อก” โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษ พร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ โดยฉีดยาชาที่มือแล้วสอดเข็มเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่มีอาการ นิ้วล็อก จากนั้น ใช้ปลายเข็มสะกิดปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่รัดเส้นเอ็นให้ขาดออกจากกันเหมือนการผ่าตัดปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 5 นาที และสามารถโดนน้ำได้ตามปกติหลังครบ 24 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973

เป็นนิ้วล็อก แต่ไม่อยากผ่าตัด ทำไงดี
หลายคนที่เป็นนิ้วล็อค ส่วนใหญ่ไม่อยากผ่าตัดเปิดแผล เพราะกลัวจะต้องใช้เวลาพักมือนาน เลยปล่อยไว้ไม่รักษา ซึ่งโรคนิ้วล็อค ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มต้นเจ็บบริเวณฐานนิ้ว

นิ้วล็อกไม่รักษา ระวังล็อคถาวร
รู้หรือไม่ “นิ้วล็อค” ถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน หรือรักษาไม่ถูกวิธี อาจทำให้ข้อที่ติดค้างงอไม่ลง อาจทำให้มีข้อยึด ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อนิ้วยึดติด หรืออาจทำให้เส้นเอ็น และปลอกเส้นเอ็นเสียหายถาวร แม้จะรักษาด้วยการผ่าตัดก็อาจจะช้าเกินไป

หักนิ้ว เสี่ยงนิ้วล็อคจริงหรือ ?
หลายคนคงนั่งหักนิ้วผ่อนคลายกันอยู่ แล้วความเชื่อที่ว่าหักนิ้วบ่อยๆ ระวังเป็นนิ้วล็อค อันนี้จริงหรือเปล่า ?

นิ้วล็อก โรคไม่อันตราย แต่น่ารำคาญ
อาการนิ้วล็อคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ใช้มือทำต่อเนื่องเป็นเวลานานมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้

ปรับพฤติกรรม ห่างไกลนิ้วล็อค
นิ้วล็อคมักพบได้บ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงคือพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ใช้มือทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การถือหรือแบกของหนักเป็นเวลานาน ใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกดต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้

5 วิธีคลายล็อค
อาการนิ้วล็อค ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ใช้มือทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การถือหรือแบกของหนักเป็นเวลานาน

ใช้มือไม่พัก ระวังนิ้วล็อก
อาการนิ้วล็อค ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ใช้มือทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การถือหรือแบกของหนักเป็นเวลานาน ใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกดต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากเกินไป

4 ระยะ นิ้วล็อก ที่เป็นแล้วห้ามละเลย
โรค นิ้วล็อค มักมีอาการเจ็บที่ฝ่ามือ บริเวณใต้ข้อต่อโคนนิ้วมือ หากเป็นมากขึ้นอาจมีอาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือได้ โดยอาการของโรคมักพบมากหลังจากตื่นนอนตอนเช้า หรือตอนที่ใช้งานมือหนัก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
914