บทความสุขภาพ

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

Share:

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดี  

  • อายุมาก ยิ่งอายุมากขึ้นจะเสี่ยงต่อมะเร็งถุงน้ำดีได้มากขึ้นโดยเฉพาะถ้ามีก้อนในถุงน้ำดี
  • ผู้หญิงพบมากว่าผู้ชาย 3-4 เท่า
  • ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  • ติ่งเนื้องอกในถุงน้ำดี ความเสี่ยงต่อมะเร็งถุงน้ำดีจะสัมพันธ์กับขนาด โดยเฉพาะขนาดติ่งเนื้องอกใหญ่กว่า 1 cm ขึ้นไปจะเสี่ยงมากขึ้น
  • ผู้ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี โดยเฉพาะนิ่วขนาดใหญ่กว่า 2.5 cm จะเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีมากกว่า
  • หินปูนเกาะในผนังถุงน้ำดี (porcelain gallbladder)
  • ผู้ที่มีภาวะ choledochal cyst หรือ primary sclerosing cholangitis

โรคมะเร็งถุงน้ำดีสามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยวิธีการทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound upper abdomen) โดยเฉพาะถ้าติ่งเนื้อมีขนาดเกิน 1 เซนติเมตรขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดถุงน้ำดีออก หรือ หากผลตรวจไม่ชัดเจนว่าเป็นติ่งเนื้อหรือนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์จะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วยการทำ CT Scan หรือ MRI ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งถุงน้ำดีที่ดีที่สุด

หลังการผ่าตัดถุงน้ำดีแล้ว แพทย์จะนำชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติมทางพยาธิวิทยา หากพบว่าเป็นระยะแรก การรักษาอาจจะต้องทำการผ่าตัดตับและเลาะต่อมน้ำเหลืองออกเพิ่มเติมอีกครั้ง แต่หากพบว่าเป็นระยะ 3-4 จะใช้วิธีรักษามะเร็งอื่น ๆ ด้วย เช่น การฉายรังสี ยาเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้า เป็นต้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Life Cancer Center
โทร 02-734-0000 ต่อ 2720

  • Readers Rating
  • Rated 4.9 stars
    4.9 / 5 (5 )
  • Your Rating