บทความสุขภาพ

อย่ามองข้าม ปวดท้องน้อยเรื้อรังจากพังผืดในอุ้งเชิงกราน

Share:

พังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion) คือ ภาวะที่พังผืดเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะที่อยู่ในกระดูกอุ้งเชิงกราน พบมากบริเวณท่อนำไข่ ปีกมดลูก ด้านหลังมดลูก เกิดขึ้นได้จากการอักเสบและหรือติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

สาเหตุที่ทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน

  1. การติดเชื้อ ของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ปีกมดลูก หรืออวัยวะข้างเคียงเช่น ไส้ติ่งอักเสบ
  2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รวมถึง ช็อคโกแลตซีสต์ โรคนี้จะทำให้มีการสร้างสารเกี่ยวกับการอักเสบ ทำให้เกิดพังผืดได้มาก
  3. ประวัติได้รับการผ่าตัดมาก่อน เช่นการผ่าตัดคลอด ผ่าเนื้องอกมดลูก ผ่าตัดไส้ติ่ง โดยเฉพาะการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง จะมีการรบกวนอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้มากกว่า จึงเกิดพังผืดจากการผ่าตัดได้มากกว่าผู้ที่ได้รับการผ่าตัดส่องกล้อง

ปัจจุบันพังผืดในอุ้งเชิงกราน สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง เป็นเทคนิกการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับทั่วโลก การผ่าตัดส่องกล้องมีข้อดีคือ การเจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สุขภาพสตรี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 3200, 3204

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (5 )
  • Your Rating