
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมักจะมีไขมันที่ไม่สามารถย่อยสลายเกาะอยู่ตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบแข็ง และเกิดการอุดตันในที่สุด
อีกทั้งเท้าจะมีปัญหาระบบประสาท เช่น อาการชาเท้า มีความสามารถในการรับความรู้สึกได้น้อยลง เกิดการเสียสมดุลของเท้า ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเกิดแผลง่าย แต่หายยาก
หากเกิดแผลกว่าจะรู้สึกตัวว่าเป็นแผลก็ลุกลาม เกิดการเน่าหรือติดเชื้อไปแล้ว และเนื่องจากแผลที่เกิดขึ้น จะติดเชื้อโรคง่าย ภูมิต้านทานของคนเบาหวานก็ไม่แข็งแรงเหมือนคนปกติ และมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเรื้อรังในที่สุด บางรายอาจต้องสูญเสียเท้าเลยทีเดียว
ปัจจุบันการรักษาแผลเบาหวานที่เท้า มีหลายวิธี
- ดูแลเหมือนแผลทั่วไปตามคำแนะนำและการรักษาของแพทย์เฉพาะทาง
- รักษาที่ต้นเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดแผล ได้แก่ ควบคุมน้ำตาล ดูแลเส้นเลือดตีบ ดูแลเส้นประสาทที่เสื่อม หากเท้าผิดรูปควรแก้ที่รองเท้า ระวังไม่ให้เกิดแรงกดทับบริเวณ Callus เช่น ทำแผ่นรองฝ่าเท้าไม่ให้ถูกกดทับ เป็นต้น
- การบำบัดรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy – HBOT) โดยให้ผู้ป่วยหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่าการให้ออกซิเจนตามปกติ จะสามารถแก้ภาวะพร่องออกซิเจน ลดการบวมของเนื้อเยื่อ ส่งเสริมการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้แผลหายเร็ว
- การสอดสายสวนขยายหลอดเลือด ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ และใส่รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผล และให้สังเกตเท้าอย่างสม่ำเสมอว่ามีแผลหรือไม่ หากมีแผลเพียงเล็กน้อย ควรดูแลแผลให้สะอาด แต่ถ้าเป็นมากขึ้นควรมาพบแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาแผลเรื้อรังและแผลเบาหวานที่เท้า
โทร. 02-7340000 ต่อ 4700,4702
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating