บทความสุขภาพ

ถ้ากระดูกหัก…ต้องใส่เฝือกนานแค่ไหน ?

Share:

กระดูกหักคือการที่กระดูกได้รับบาดเจ็บจนแตก หัก ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือใช้งานตามปกติได้ มักเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากการขับขี่ ตกจากที่สูง รวมทั้งจากการเล่นกีฬา ส่วนมากจะพบผู้ป่วยกระดูกหักได้บ่อยบริเวณข้อมือและข้อเท้า

การได้รับอุบัติเหตุจนกระดูกหักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บ ปวด บวม และขยับหรือใช้งานอวัยวะบริเวณที่หักได้ลำบาก หรือในบางรายอาจเห็นกระดูกผิดรูปได้ทันที ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองกระดูกหักควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้มีอาการบาดเจ็บมากขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกหัก ภาวะทุพพลภาพหรือความพิการตามมาได้

ในกรณีที่กระดูกหัก โดยส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด บางกรณีอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดถ้ามีข้อบ่งชี้ การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดแพทย์จะรักษาด้วยการจัดกระดูกกลับเข้าที่พร้อมกับใส่เฝือกเพื่อให้กระดูกที่กลับเข้าที่แล้วอยู่ในตำแหน่งเดิม รอให้ร่างกายสร้างกระดูกใหม่ออกมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อยประมาณ 6 สัปดาห์ และกลับมาใช้งานได้ตามปกติประมาณ 3 – 6 เดือนหลังจากจัดกระดูกเข้าที่ ขึ้นอยู่กับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและความแข็งแรงของแต่ละคน การไม่ใส่เฝือกถึงแม้ว่ากระดูกจะสามารถเชื่อมต่อเองได้ แต่มักจะติดผิดตำแหน่งเนื่องจากไม่มีเฝือกประคองไว้ ทำให้เกิดลักษณะผิดรูป ภาวะแทรกซ้อนจากการกดทับเส้นเลือดหรือเส้นประสาท เสียการใช้งานหรือมีความพิการตามมาได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกและข้อ โทร. 02-734-0000 ต่อ 2298

  • Readers Rating
  • Rated 4.2 stars
    4.2 / 5 (16 )
  • Your Rating