บทความสุขภาพ

ออฟฟิศซินโดรม น่ากลัวกว่าที่คิด “3 อาการบอกโรคออฟฟิศซินโดรม”

Share:

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อชุดเดิมซ้ำๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการจากกล้ามเนื้อที่ล้า หดเกร็ง จนบางครั้งคลำพบก้อน แข็งในมัดกล้ามเนื้อ หรือมีจุดกดเจ็บ (Trigger point)

โดยพบได้บ่อยในกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย ต้นคอ บ่า และสะบักหากละเลย ปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา สามารถนำไปสู่โรคที่รุนแรงมากขึ้น เช่น กระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท โดยอาการของออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย ได้แก่

  1. ปวดตึง ปวดหนักๆ ที่ท้ายทอย ต้นคอ บ่า สะบัก หรือเอว และสะโพก
  2. อาการปวดร้าวขึ้นท้ายทอย ขมับ กระบอกตา บางครั้งทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น #โรคไมเกรน  หรือปวดร้าวลงต้นขา คล้าย #กระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมกดทับเส้นประสาท
  3. อาการชา เย็นวูบวาบ คลื่นไส้ มึนศีรษะ

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ยาไม่ใช่การรักษาหลักดังเช่น โรคอื่น แต่เป็นการทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธี ประกอบด้วย การยืดกล้ามเนื้อ ควบคู่กับการใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น

  • เลเซอร์ความเข้มสูง
  • เครื่องกระตุ้นแม่เหล็ก (PMS)
  • เคลื่อนกระแทก (Shock wave therapy)  สิ่งสำคัญคือควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากสาเหตุอื่น และค้นหาต้นเหตุ

โดยแพทย์จะให้คำแนะนำอย่างละเอียดในการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เทคนิคที่ถูกต้องในการทำงาน การยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี นอกจากนี้หัวใจสำคัญและถือเป็นความท้าทายในการรักษาคือ ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นใหม่ ไม่สะสมเรื้อรังจนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 02-734-0000 ต่อ 2972, 2973

  • Readers Rating
  • Rated 4.1 stars
    4.1 / 5 (4 )
  • Your Rating