
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นเร็ว หรือ เต้นช้า และความรุนแรงของโรค ซึ่งหนึ่งในวิธีรักษาที่ได้ผลดีคือการจี้ไฟฟ้าหัวใจ หรือการจี้จุดกำเนิดของการที่หัวใจเต้นผิดปกติโดยคลื่นวิทยุความถี่สูง ด้วยการใช้สายสวนสอดไปตามหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบจนถึงห้องหัวใจ ซึ่งปลายสายจะมีขั้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุ เมื่อพบตำแหน่งที่มีกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแพทย์ก็จะจี้ไฟฟ้าทำลายทันที
“โดยผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดสูงถึงร้อยละ 95 – 98 และไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต”
เทคโนโลยีการจี้ด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้าหัวใจ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
- Electrophysiology Study หรือการตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ แสดงผลเป็นกราฟ 2 มิติ เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ หาสาเหตุ รวมถึงตำแหน่งที่ผิดปกติ และจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง ก็สามารถให้การรักษาได้ต่อเนื่องทันทีหลังจากการตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจแล้ว
- 3D System เป็นการหาตำแหน่งจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งแสดงผลเป็นภาพ 3 มิติ แบบ real – time และใช้สายสวนจี้ตรงจุดที่ผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง วิธีนี้สามารถใช้รักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่มีจุดกำเนิดเป็นบริเวณกว้าง หรือมีความซับซ้อน เช่น
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะห้องบน (atrial tachycardia)
- ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation)
- ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (ventricular tachycardia)
- ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วชนิดลัดวงจร (supraventricular tachycardia)
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 0-2734 0000 ต่อ 5300
- Readers Rating
- Rated 5 stars
5 / 5 (Reviewers) - Spectacular
- Your Rating