บทความสุขภาพ

เข้า ห้องน้ำสาธารณะ เสี่ยงโรคจริงหรือ ?

Share:

ใน ห้องน้ำสาธารณะ มีเชื้อโรคอยู่มากจริง ๆ ทั้งเชื้อโรคที่มาจากการขับถ่าย จากมือที่สัมผัสจุดต่างๆให้ห้องน้ำ หรือเชื้อโรคในอากาศ เช่น เชื้อหวัด เนื่องจากการถ่ายเทอากาศในห้องน้ำมักจะไม่ดีนัก เชื้อที่พบได้ ก็เช่นเชื้อโรคจากลำไส้ เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เชื้อคลาไมเดีย หรือหนองใน

แล้วในความเป็นจริง การเข้าห้องน้ำสาธารณะ มีโอกาสติดเชื้อหรือไม่ ? ในร่างกายของเรา จะมีเชื้อโรคอยู่ตามที่ต่างๆอยู่แล้ว โดยเฉพาะที่ผิวหนัง ลำไส้ หรือแม้แต่ในช่องคลอด โดยมีผิวหนังของเราเป็นตัวป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี การติดเชื้อจากก้น หรือต้นขา ในการนั่งชักโครก ห้องน้ำสาธารณะ นั้น เป็นไปได้น้อยมาก เนื่องจากที่ผิวหนัง จะมีกลไกป้องกันการติดเชื้อ และเรายังมีระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ช่วยกำจัดเชื้อโรคด้วย เชื้อที่ก่อโรคนั้น จะต้องมีโฮสต์เพื่ออยู่อาศัย แปลว่า เมื่อเชื้อออกจากร่างกาย ถ้าไม่ได้เข้าสู่อีกร่างกายถัดไปเกือบทันที เชื้อก็จะตายแล้ว

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น เชื้อจะต้องเข้าโดยการสัมผัสโดยตรงกับท่อปัสสาวะ หรือช่องคลอด ซึ่งเราไม่ได้ใช้อวัยวะเหล่านั้นโดนฝาชักโครกอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เชื้ออาจเข้าทางปากแผลที่แก้มก้น หรือต้นขา ดังนั้นถ้าเราไม่มีแผล ก็จะมีโอกาสติดเชื้อน้อยมากๆ

ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องทำท่าสควอทตอนเข้า ห้องน้ำสาธารณะ จะทำให้ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ แถมปัสสาวะก็ลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติอีก สิ่งที่เราสามารถทำได้ คือใช้ทิชชู่เปียกฆ่าเชื้อโรค เช็ดบริเวณขอบโถส้วมก่อนนั่งขับถ่าย และล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำเสร็จก็เพียงพอแล้ว

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2200

  • Readers Rating
  • Rated 4.9 stars
    4.9 / 5 (7 )
  • Your Rating