บทความสุขภาพ

‘24 ชั่วโมงทอง ต้องผ่าตัด’ กับภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงวัย

Share:

สังเกตอาการกระดูกสะโพกหัก

  • เจ็บมากจนขยับไม่ไหว
  • ลงน้ำหนักหรือยืนไม่ได้
  • ช่วงปลายเท้าเย็น เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงได้น้อยลง
  • มีรอยฟกช้ำ บวม และรู้สึกขัดบริเวณสะโพก

เคลื่อนย้ายถูกวิธี ลดความเสียหายต่อผู้ป่วย

หากผู้สูงอายุประสบอุบัติเหตุลื่นล้ม และสงสัยว่ากระดูกสะโพกหักหรือส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหาย ควรรีบโทรแจ้งโรงพยาบาล เพื่อให้ทีมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเฉพาะทาง มาเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกระดูกหัก เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกเคลื่อนตัว ลดการบาดเจ็บ และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

กระดูกสะโพกหัก จำเป็นต้องผ่าตัดอย่างเร่งด่วน

กระดูกสะโพกหัก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร็วที่สุด ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา อาทิ เป็นผู้ป่วยติดเตียง เกิดแผลกดทับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในกระแสเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ข้อดีของการ ผ่าตัดกระดูกสะโพกหักภายใน 24 ชั่วโมง

  • ลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ จากการนอนไม่ขยับตัว
  • ลดโอกาสเกิดแผลกดทับบริเวณหลัง และก้นกบ จากการนอนไม่ขยับตัว
  • ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
  • ลดโอกาสเกิดภาวะการนอนติดเตียง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า ลีบ และอ่อนแรง
  • ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะยาว
  • กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงดังเดิมก่อนกระดูกสะโพกหัก

ผ่าตัดกระดูกสะโพกหักแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว

การผ่าตัดกระดูกสะโพกในปัจจุบัน ไม่น่ากลัวอย่างสมัยก่อน เนื่องจากมีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดรูปแบบใหม่ Minimal Invasive Surgery เป็นการผ่าตัดกระดูกสะโพกแบบเปิดแผลขนาดเล็ก กล้ามเนื้อถูกทำลายน้อย กระทบโครงสร้างกระดูกต่ำ ผู้ป่วยจึงบาดเจ็บน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว สามารถเดินได้ภายใน 1 คืน หลังผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุลื่นล้มในผู้สูงอายุนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่บ้าน หากบ้านใดมีผู้สูงอายุ ควรดูแลแสงไฟให้ส่องสว่างทั่วถึง จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบป้องกันการสะดุดล้ม และหากเป็นไปได้ควรมีผู้ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2222

  • Readers Rating
  • Rated 4.6 stars
    4.6 / 5 (7 )
  • Your Rating