บทความสุขภาพ

5 โรคร้าย…ทำลายชีวิตวัยเกษียณ

Share:

มือใหม่วัยชรา อาจรู้สึกกังวลใจกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในทางเสื่อมลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยชราจะมีลักษณะโดยรวมเหมือนกัน แต่จะช้าหรือเร็วแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

ปัญหาสุขภาพของคนวัยนี้ที่พบบ่อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก มักมาจากภาวะทุพพลภาพจากโรคยอดฮิตของผู้สูงวัยเหล่านี้คือ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคข้อเสื่อม นอกจากทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมานทางร่างกายแบบเรื้อรังแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจและเศรษฐกิจของครอบครัวอีกด้วย

ปัญหาหัวใจในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นพบว่าหลอดเลือดหัวใจจะเสื่อมสภาพ จากการที่มีคอเลสเตอรอลสะสมเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบแคบ หรืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้

หลอดเลือดสมองตีบ/ตัน

อีกหนึ่งโรคต้องระวังของผู้สูงวัย มุมปากตก รู้สึกชาใบหน้า พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง เดินเซ ปวดหัวมาก ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน พึงสังเกตอาการเหล่านี้ไว้ให้ดี เพราะนั่นคือสัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณอาจมีความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ/ตันได้

ความดันโลหิตสูง…ฆาตกรเงียบ

“ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคที่คุ้นหูของทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าความดันโลหิตสูงคือภัยเงียบที่อาจระเบิดขึ้นมาอย่างไม่ทันตั้งตัวได้ในวันใดวันหนึ่ง…

นพ.เทิดศักดิ์ เชิดชู อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด อธิบายว่า แรงดันโลหิต คือแรงดันในหลอดเลือดแดงเฉลี่ย ซึ่งเกิดจากปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวออกมาในแต่ละครั้ง คูณกับแรงต้านทานของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย

ข้อเข่าเสื่อม…ปัญหาที่มาพร้อมกับอายุมากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะหนึ่งที่หนีไม่พ้นความเสื่อมคือ “ข้อเข่า” ปัญหาข้อเข่าเสื่อมนอกจากจะนำมาซึ่งความเจ็บปวดทุกย่างก้าวที่เดินแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่นๆ อีกด้วย

อย่าวางใจเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับ“เบาหวาน”

“ประมาณการว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 360 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจในประเทศยากจนอย่างรุนแรง”

ในการประชุมกรรมการบริหารสมาคมเบาหวานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค และสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนตุลาคมปี 2552 มีการรายงานว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก และพบแนวโน้มสูงขึ้นมากในประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางและยากจน ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 360 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจะเกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจในประเทศยากจนอย่างรุนแรง

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (2 )
  • Your Rating