บทความสุขภาพ

“โรคซึมเศร้า” เมื่อเราสูงวัยรับมืออย่างไรไม่เศร้าซึม

Share:

เมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี หรือการย่างเข้าสู่วัยสูงอายุนั้น แน่นอนว่าร่างกายของเราจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมถอยลง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของระบบประสาทและสมอง รวมถึงสภาวะจิตใจ ซึ่งผลการศึกษาในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยที่ที่มีอาการซึมเศร้าและยังไม่ได้รับการรักษาถึงร้อยละ 8.5 คิดเป็นผู้ป่วยถึง 5.8 ล้านคนในประเทศไทยที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นไม่ได้เกิดจากภาวะทางจิตใจหรือความผิดปกติของเคมีในสมองเท่านั้น ยังอาจเกิดจากโรคทางกายหลายอย่างที่อาจจะมีอาการให้เห็นเพียงอาการซึมเศร้าก็ได้ พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าที่เป็นผู้สูงอายุนั้นมีโรคร่วมหรือมีโรคทางกายที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 54.5 ทีเดียว

อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นมักพบว่ามีอารมณ์เศร้าโดยไม่มีเหตุผล โดยเฉพาะช่วงตื่นนอนตอนเช้า เศร้าตลอดทั้งวัน เรี่ยวแรงลดลงเป็นอย่างมาก สมาธิและความจำแย่ลง ทานอาหารน้อย อาจะนอนหลับมากขึ้นหรือนอนไม่หลับเลย โดยพบ่าอาการของโรคซึมเศร้าเหล่านี้อาจจะทำให้ผลของการรักษาโรคประจำตัวอื่นๆแย่ลงไปด้วย การรีบรักษาและการหาสาเหตุของอาการแต่เนิ่นๆ นอกจากจะทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นแล้วยังทำให้แผนการรักษาในภาพรวมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ปัจจัยทางกายภาพหรือความเจ็บป่วยบางอย่าง สามารถส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
โรคประจำตัวหลายอย่างทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียนอนไม่หลับ หมดเรี่ยแรงความจำสั้น ทานอาหารไม่ลง และมีอารมณ์เศร้าซึม เบื่อหน่าย ท้อแท้ได้ โดยโรคหรือสาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  1. ภาวะโลหิตจาง
    ทำให้ผู้ป่วยหมดเรี่ยวแรงแลดูซีดเซียว อีกทั้งทำให้ดูมีอาการซึมเศร้าหรือมีอาการกังวลมากขึ้นเนื่องจากหัวใจต้องทำงานสูบฉีดเลือดมากขึ้นอีกทั้งบางครั้งยังมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย
  2. โรคหวใจ
    ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยง่ายและมีอาการไม่อยากทำอะไร เหนื่อยหอบและนอนราบไม่ได้จนนอนไม่หลับบางครั้งดูเหมือนอาการโรคซึมเศร้ามาก
  3. โรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
    ทำให้ผู้ป่วยดูมีความคิดความจำสมาธิยาและดูไม่สนใจสิ่งแวดล้อมทำให้ดูเหมือนอาการของโรคซึมเศร้าได้
  4. ภาวะพร่องฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
    ทำให้ผู้ป่วยดูนอนมากไม่อยากทำอะไร อารมณ์เศร้าหมองไม่แจ่มใส ผิวแห้ง ทานจุและดูไม่อยากขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวดูเผินๆแล้วอาจจะแยกไม่ออกจากอาการทางด้านจิตใจ จึงมักต้องตรวจหาสาเหตุด้วยการเจาะเลือดหาระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
  5. โรคเบาหวาน
    อาการของโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้มักมีภาะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ปัสสาวะบ่อยและนอนไม่หลับเนื่องจากต้องลุกมาปัสสวะและหมดเรี่ยวแรงเนื่องจากภาวะระดับน้ำตาลสูงได้ ผู้ป่ยเบาหวานมักหิวบ่อย ทานอาหารบ่อย ทำให้บางครั้งดูหงุดหงิดน้อยใจ คล้ายว่ามีอาการซึมเศร้า
  6. ยาและสมุนไพรบางชนิด
    ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวและมีความจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิด ยาและสมุนไพรบางชนิดอาจจะลดการผลิตสารเคมีในสมองได้ทำให้รู้สึกเศร้าซึมดูง่วงหงาวหาวนอน จึงควรนำยาที่รับประทานทุกชนิดมาแพทย์ทุกครั้งเพื่อช่วยลดข้างคียงและปฎิกิริยาระวางยาซึ่งเป็นสาเหตุของอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน

เคล็ดลับวีธีจัดการกับโรคซึมเศร้าเมื่อเราสูงวัย

  1. พูดคุยกับคนที่เรารัก
    ยามเมื่ออาการของโรคซึมเศร้ามาเยือนอาจจะทำให้รู้สึกไม่อยากพูดคุยกับใครและบางครั้งอาจนึกไปว่าการพบปะพูดคุยกับคนที่ท่านรักและห่วงใยมีส่วนช่วยลดอาการซึมเศร้าได้รวมถึงลูกหลานอาจจะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซี่งหากมีเหตุร้ายแรงจะช่วยให้ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที รวมถึงการพูดคุยจะทำให้สัมพันธภาพในครอบครัวแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย
  2. พฤติกรรมเสริมสร้างสุขภาพ
    ผู้สูงอายุอาจไม่จำเป็นต้องนอนถึง 8 ชั่วโมงก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปชั่วโมงการนอน 5-6 ชั่วโมงในผู้สูงอายุนั้นก็เพียงพอแล้ว การตากแดด 5-10 นาทีหรืออยู่ในที่ที่มีหลอดไฟให้แสงสว่างประมาณ 30 นาที หลังตื่นนอนในตอนเช้าช่วยให้นาฬิกาชีวิตทำงานได้ปกติและช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นและอารมณ์แจ่มใส สามารถออกกำลังกายร่วมด้วยนี้เพื่อให้สุขภาพร่างกายโดยรมสมบูรณ์แข็งแรง
  3. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
    การเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำนอกจากจะทำให้ตรจพบโรคต่างๆแต่เนิ่นๆและรักษาได้ทันท่วงทีแล้วยังสามารถป้องกันสาเหตุทางร่างกายต่างๆของภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
  4. ห่างไกลสุรายาเสพติด
    การใช้แอลกอฮอลล์หรือสารเสพติดเพื่อบำบัดอาการใดๆไม่ใช่ทางออกที่ดะ และนั่นหมายความว่าบุคคลนั้นไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยตนเองอีกต่อไป อีกทั้งแอลกอฮอลล์และสารเสพติดต่างๆนั้นทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย หากถึงขั้นต้องใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอลล์เพื่อบำบัดอาการแล้วควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า
  5. พบผู้เชี่ยวชาญเมื่อถึงเวลา
    การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของอาการและการวางแผนการรักษาร่วมกันจะทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวา รวมถึงการรักษาสาเหตุอื่นร่วมไปด้วยเนี่องจากภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เพียงแค่ความเครียดแต่เป็นภาวะที่มีทั้งความเจ็บป่ยด้านร่างกายและจิตใจจึงต้องรักษาทั้งสองด้านไปพร้อมๆกัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์อายุรกรรม โทร 02-734-0000 ต่อ 2200

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (2 )
  • Your Rating