บทความสุขภาพ

แพทย์แนะวิธีแก้ปัญหารอยแผลเป็นคีลอยด์

Share:

หลายคนคงอยากห่างไกลจากคำว่า “แผลเป็น” เพราะนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดจากบาดแผลแล้ว พอเวลาผ่านไปอาจทิ้งรอยไม่พึงประสงค์ให้ติดอยู่ที่ผิวหนังอีกด้วย แต่ด้วยเทคโนโลยีและความสามารถของแพทย์ในปัจจุบัน อาจทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดรอยแผลเป็นหมดกังวลลงได้ แผลเป็นคือ เนื้อเยื่อที่ร่างกายสร้างขึ้นใหม่ และไม่เป็นระเบียบเพื่อซ่อมแซมบาดแผล ซึ่งหากสร้างมากเกินไปจะเกิดเป็นรอยนูน และหากขยายเกินขอบเขตจะเรียกว่า แผลเป็นคีลอยด์ แต่หากสร้างน้อยเกินไป ผิวหนังก็จะเป็นหลุม สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดรอยแผลเป็นนั้น อาจเกิดได้จาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในและภายนอก
ซึ่ง ปัจจัยภายใน ได้แก่ พันธุกรรม ที่เป็นปัจจัยสำคัญ มีผลต่อการซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังและคอลลาเจน ที่มีการสร้างมากหรือน้อยเกินไป จึงเกิดแผลเป็นนูนที่เรียกว่า Hypertrophic scar , Keloid หรือแผลเป็นลักษณะบุ๋มลงไป ที่เรียกว่า Atrophic scar

ดังนั้น ถ้าในครอบครัวของเรามีคนที่มีแผลเป็นง่ายตัวเราเอง ก็อาจมีโอกาสในการเกิดแผลเป็นได้ง่ายเช่นกัน

ส่วนปัจจัยภายนอก ที่ก่อให้เกิดรอยแผลเป็น โดยมากเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เกิดจากแผลอีสุกอีใส , เกิดจากการฉีดวัคซีน หรือทำศัลยกรรม โดยเมื่อเกิดแผลขึ้นก็ควรดูแลทำความสะอาด ไม่ให้มีการติดเชื้อ และไม่สะกิดแผลออกก่อน ที่ภายในจะมีการซ่อมแซมเซลล์จนแผลหายดีแล้ว เพราะการที่สะเก็ดแผลหลุดเร็วเกินไป อาจทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดแผลเป็นได้ นพ.ธีระ กล่าวต่อว่า ลักษณะแผลเป็นแบบรอยนูน และ คีลอยด์ หากเป็นสมัยก่อน ผู้ที่มีแผลเป็นดังกล่าวอาจจะวิตกกังวล เพราะไม่มีทางรักษาหายได้ แต่ด้วยวิวัฒนาการแพทย์ในปัจจุบัน สามารถรักษารอยแผลเป็นดังกล่าวได้ แต่อาจจะต้องใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกัน ได้แก่

  1. การทายาป้องกันแผลเป็น เช่น Dermatix Ultra gel ซึ่งเป็นกลุ่มยาซิลิโจล หรือยาทาป้องกันแผลเป็นกลุ่มอื่นๆ
  2. การรัดกระชับด้วยผ้า Compression garment ร่วมกับการกดนวดเบาๆที่แผลเป็น
  3. การฉีด Corticosteroid ในแผลเป็น คีลอยด์ ซึ่งมีโอกาสหายหลังฉีดประมาณ 50%
  4. การฉีดแผลเป็นด้วย สาร 5-FU , TGF beta 3, Insulin แต่ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัย
  5. การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นเดิมที่นูน กว้าง หรือเป็นรอยบุ๋ม
  6. การฉายแสงหลังการผ่าตัด ศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมความงาม กล่าวด้วยว่า หากรักษาแผลเป็นด้วยวิธีที่ผสมผสานแล้วรอยแผลเป็น ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นที่นูน กว้าง หรือเป็นรอยบุ๋ม ซึ่งหากต้องรักษาแผลเป็นด้วยวิธีการผ่าตัด ควรเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และสถานที่ให้บริการมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อลดปัญหาที่จะก่อให้เกิดการลุกลามของรอยแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ได้ อีกทั้งควรศึกษาวิธีการดูแลตัวเองก่อนรับการผ่าตัด ซึ่งได้แก่
    • ควรงดยาที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่น aspirin, NSAIDs , Fish oil ,Vitamin E high dose เป็นต้น รวมทั้งประเมินถึงโรคประจำตัวที่มี และการวางแผนการผ่าตัด เพื่อให้มีแนวแผลที่มีความตึงของแผลที่น้อยที่สุด และให้มีความยาวแผลน้อยที่สุด
    • การผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดต้องหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดการบาดเจ็บเนื้อเยื่อ และเนื้อตายรวมทั้งการมีเลือดออกที่ไม่จำเป็น เลือกใช้เข็มขนาดเล็กฉีดยาชาก่อนการผ่าตัด
    • การเย็บแผล ให้สนิทเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปิดของบาดแผลด้วยผิวหนังชั้นนอกได้อย่างรวดเร็ว
    • การดูแลบาดแผล ภายหลังการผ่าตัดจนถึงการตัดไหม เวลาที่เหมาะสมในการตัดไหมหลังการเย็บแผล แผลที่ใบหน้า 5 วัน, แผลที่หนังศีรษะ ลำตัว 7 วัน, แผลที่แขน 7-10 วัน, แผลที่เท้า 10-14 วัน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมความงาม
โทร 02-734-0000 ต่อ 1197

  • Readers Rating
  • Rated 3.1 stars
    3.1 / 5 (6 )
  • Your Rating